This nice Blogger theme is compatible with various major web browsers. You can put a little personal info or a welcome message of your blog here. Go to "Edit HTML" tab to change this text.
RSS

ปฏิทิน

วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2553

ปัจจัยในการดำรงชีพ (เครื่องนุ่งห่ม)


2. ผ้าที่ใช้ในพิธีกรรม เป็นผ้าที่ใช้ในพิธีกรรมของชาวบ้านที่มีความเกี่ยวโยงกับความเชื่อ
เรื่องโชคลาง เช่น

- ผ้ายันต์ ที่พบเห็นจะเป็นการใช้จีวรเก่าของพระสงฆ์ ผ้าขาว หรือผ้าแดงมาขีดเขียนอักษรและนำมาบูชา เพื่อสนองตอบความเชื่อเรื่องโชคลางต่าง ๆ เช่น ให้ทำมาค้าขึ้น ให้สอบเป็นเจ้าเป็นนายได้ หรือแม้กระทั่งกันภูติผีปีศาจต่าง ๆ มารบกวน
- ผ้าเอ้บั้งไฟ เป็นผ้าไหม้หรือผ้าฝ้ายที่ทออย่างประณีตด้วยการจกหรือขิดใช้คล้องคอพญานาคบนองค์บั้งไฟ เพื่อความสวยงาม ซึ่งจะเป็นผ้าที่ดูโดดเด่นที่สุดในขบวนแห่บั้งไฟของชาวอีสาน
- ผ้าที่ใช้ถวายพร้อมเชิงบาตรกราบ เป็นผ้าฝ้ายที่ย้อมด้วยขมิ้นเหลืองผืนกระทัดรัด ซึ่งพระสงฆ์ใช้รองเวลารับของถวายจากฆราวาสที่เป็นหญิง โดยพระสงฆ์จะจับชายผ้าอีกด้านเวลารับ


3. ผ้าในพิธีทางพุทธศาสนา เป็นผ้าที่ใช้ประกอบในพิธีกรรมทางพุทธศาสนา เช่น
- ผ้าผะเหวด เป็นผ้าฝ้ายทอพื้นสีขาว หากเป็นการทออย่างหยาบ ๆ อาจมีการลงแป้งเพื่อปิดรอยสานเส้นใยผ้าและเพื่อสะดวกต่อการลงสีที่ใช้ในการเขียนภาพบรรยาย เรื่องราวของพระเวสสันดรทั้ง 13 กัณฑ์ ส่วนผงผะเหวดจะเป็นผ้าฝ้ายสีขาวทอแบบหยาบ ๆ มีการปักขิดสีจาง ๆเป็นช่วงยาวประมาณ 2-3 วา ตรงชายผ้าประดับด้วยผ้าไหม้หรือผ้าฝ้ายทอแบบขิดสีสันสวยสะดุดตา ในบางพื้นที่อาจมีการแขวนกระดิ่งที่ชายผ้า ผ้าจะผูกกับเสาไม้ไผ่สูง 3-4 วา ในงาน “เทศกาลบุญผะเหวด”
- ผ้านุ่งนาคและผ้าปกหัวนาค โดยปกติผ้านุ่งนาคจะเป็นผ้าไหมทอสีพื้น บางทีอาจเป็นโสร่งลาย ซึ่งนาคใช้นุ่งในพิธีบวชนาค ก่อนจะเปลี่ยนเป็นจีวรของพระ ส่วนผ้าปกหัวนาคจะเป็นผ้าฝ้ายทอสีขาวบริสุทธิ์ ใช้ปกหัวนาคในขณะทำพิธีบวชนาค โดยเฉพาะในตอนแห่นาครอบอุโบสถหรือหมู่บ้านเพื่อเป็นการกันความร้อนจากไอแดด
- ผ้าห่อคัมภีร์ไบลาน จะใช้ผ้าไหมเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมักเป็นไหมที่ทอโดยการมัดหมี่ ถือว่าเป็นศิลปะการทอชั้นสูงของคนอีสาน ใช้ห่อเพื่อเก็บคัมภีร์ไบลานจากฝุ่น มอด และแมลงต่าง ๆ เข้าทำลาย ส่วนผ้ารองคัมภีร์ไบลานจะเป็นผ้าไหมหรือฝ้าย ทอด้วยการขดหรือจกผืนขนาดกระทัดรัดใช้รองคัมภีร์ใบลานเวลาพระเทศน์


แหล่งที่มา
1.จาก “สังคมและวัฒนธรรมอีสาน” เอกสารประกอบนิทรรศการถาวร “อีสานนิทัศน์” 2549 หน้า 125-188

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น