This nice Blogger theme is compatible with various major web browsers. You can put a little personal info or a welcome message of your blog here. Go to "Edit HTML" tab to change this text.
RSS

ปฏิทิน

วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2553

วิถีชีวิต-ความเชื่อ


หมอธรรม
ชาวอีสานเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างมีผีเป็นผู้ดูแลการทำสิ่งใดต้องมีการบอกล่าวก่อน ในอดีตมักจะรักษาอาการเจ็บป่วยด้วยแพทย์แผนโบราณคือยาพื้นบ้านเชื่อว่าสามารถรักษาโรคทางกายได้ทุกอย่าง ถ้ารักษาด้วยยาพื้นบ้านไม่หาย ชาวบ้านเชื่อกันว่ามีผีมาเข้าจะต้องรักษาด้วยวิธีการพูดจากับผี การอยู่ธรรมเป็นการรักษาอาการเจ็บป่วยอย่างหนึ่ง โดยการอาศัยธรรมเข้ามาขับไล่ผีทุกอย่างชนิด

การอยู่ธรรม คือ การปฏิบัติธรรมถือศีลมีหมอธรรมเป็นผู้ดูแลรักษา หมอธรรมจะใช้ด้าย
มลคง ผูกแขน แล้วสวดมนต์เสกเป่าน้ำให้ดื่ม พร้อมทั้งพูดจาอบรมสั่งสอนต่าง ๆ นานา แต่


ขวัญ
ขวัญมีความหมายอยู่ 2 ประการ คือ
1. ขวัญมีลักษณะเป็นรูปธรรม หมายถึง ผมหรือขนที่ขึ้นเวียนเป็นก้นหอยมีทั้งคนและสัตว์
2. ขวัญเป็นนามธรรม เป็นสิ่งที่มองไม่เห็น ไม่มีตัวตน แต่เชื่อว่าเป็นสิ่งที่มีพลัง และอำนาจอย่างหนึ่งอยู่ในร่างกาย สามารถหลบหนีไปได้ดังที่เคยได้ยินว่าขวัญหาย ขวัญหนี เป็นต้น แต่สามารถเรียกกลับมาได้เช่นกัน เชื่อกันว่าถ้าขวัญอยู่กับตัวของผู้ใดผู้นั้นก็จะมีความสุขกายสบายใจ ไม่เจ็บไม่ไข้ ถ้าขวัญหนีหายไปจะเกิดอันตรายแก่คนผู้นั้นได้ ดังนั้น จึงเกิดความเชื่อว่า ขวัญ เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นของคนทุกคนเกิดพิธีกรรมต่าง ๆ ที่จะทำให้ขวัญอยู่กับตัวตลอด ดังจะเห็นได้ว่าทุกช่วงชีวิตตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งเข้าสู่วัยชราจะมี
ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับขวัญอยู่เสมอ อาทิ การทำขวัญแรกเกิด ทำขวัญเดือน โกนจุก บวชนาค แต่งงาน การสร้างบ้านปลูกเรือน การแยกเสาเอก วางศิลาฤกษ์ เป็นต้น และตลอดจนทำขวัญผู้ที่เพิ่งหายป่วยหรือรอดพ้นอันตรายกลับมา การได้รับตำแหน่งใหม่เลื่อนขั้น การกลับสู่บ้านเกิดเมืองนอนหรือแม้แต่การจะเดินทางไกลไปอยู่ต่างถิ่น นอกจากนี้ยังมีการทำขวัญในโอกาสพิเศษ อาทิเช่น การต้อนรับแขกผู้มาเยือนหรือสู่ขวัญสิ่งของเครื่องใช้ เช่น เรือล้อ เกวียน รถยนต์ ปืน เป็นต้น


แหล่งที่มา
1.จาก “สังคมและวัฒนธรรมอีสาน” เอกสารประกอบนิทรรศการถาวร “อีสานนิทัศน์” 2549 หน้า 125-188

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น