This nice Blogger theme is compatible with various major web browsers. You can put a little personal info or a welcome message of your blog here. Go to "Edit HTML" tab to change this text.
RSS

ปฏิทิน

วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2553

ดนตรีและการแสดง



แคน
แคน เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องลม ชนิดที่มีลิ้นอิสระ เสียงแคน เกิดจากการเป่าหรือดูดกระแสลมผ่านลิ้นแคน แคนเป็นเครื่องดนตรีที่นิยมแพร่หลายที่สุดของชาวอีสานมาตั้งแต่โบราณและถือว่าแคน เป็นสัญลักษณ์ของชาวอีสาน ไม่มีหลักฐานว่าแคนเกิดขึ้นเมื่อใด ใครเป็นผู้คิดค้น หากไม่มีหลักฐานจากลอยสลักขวานทำด้วยสำริดสมัยวัฒนธรรมดองซอน ทำให้เชื่อว่าแคนได้เกิดขึ้นมาหลายพันปีแล้วแคนเป็นเครื่องดนตรีที่มีความไพเราะ การเป่าจะใช้มือทั้งสองข้าง บังคับเสียงทำให้เสียงแคนที่ออกมานั้นมีทั้งทำนองและเสียงประสาน เสียงสอดแทรกแสดงถึงอารมณ์และความรู้สึกต่างๆ อย่างสมบูรณ์ และเมื่อได้หมอแคนผู้มีความชำนาญเป่าตาม “ลาย” (ทำนองพื้นบ้านอีสาน) ก็ยิ่งเพิ่มความไพเราะจับใจมากยิ่งขึ้น
โปงลาง
โปงลาง เป็นเครื่องดนตรีประเภทตีเคาะทำนอง มีลักษณะคล้ายระนาดในดนตรีไทย ลูกโปงลางจะทำจากไม้เนื้อแข็ง นิยมใช้ไม้มะหวด ยิ่งได้ไม้มะหวดยืนตายจะได้เสียงดีเป็นพิเศษ นิยมใช้ไม้ขนาดใหญ่ประมาณท่อนแขนแล้วนำมาถากกลึงตบแต่งเจาะรูสำหรับร้อยลูกระนาด 2 รูเทียบระดับเสียงตามเสียงแคนมี 5 เสียง คือ โด เร มี ซอล ลา โดยเริ่มที่เสียงต่ำไปจนถึงซอลสูงรวมทั้งหมด 12 ลูก เวลาเล่นให้แขวนเป็นแนวเฉียงทำมุมประมาณ 30-45 องศากับพื้นให้ลูกใหญ่เสียงทุ้มอยู่ด้านบนแล้วเรียงลำดับลงมาเรื่อย ๆ ในสมัยโบราณเวลาเล่นผู้เล่นจะผูกปลายด้านหนึ่งของผืนโปงลางไว้กับเท้าผู้เล่น ใช้ผู้เล่นโปงลางผืนเดียวพร้อมกันทีละ 2 คน คนหนึ่งเรียก “หมอเคาะ” ทำหน้าที่เคาะทำนองเพลง อีกคนหนึ่งเรียก “หมอเสิบ” ทำหน้าที่เคาะเสียงประสานและทำจังหวะ โดยอยู่ทางขวามือของหมอเคาะ การบรรเลงโปงลางจะบรรเลงได้ทั้งบรรเลงเดี่ยวและวง


แหล่งที่มา
1.จาก “สังคมและวัฒนธรรมอีสาน” เอกสารประกอบนิทรรศการถาวร “อีสานนิทัศน์” 2549 หน้า 125-188

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น