This nice Blogger theme is compatible with various major web browsers. You can put a little personal info or a welcome message of your blog here. Go to "Edit HTML" tab to change this text.
RSS

ปฏิทิน

วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2553

ปัจจัยในการดำรงชีพ (อาหาร)


การถนอมอาหาร
การถนอมอาหารคือวิธีการที่จะเก็บอาหารไว้ให้นานและไม่ให้อาหารเน่าเสีย สำหรับชาวอีสานมีวิธีการถนอมอาหารตั้งแต่สมัยโบราณที่สืบทอดกันมา เช่น การตากแห้ง การดอง การหมักเกลือ การกวน การถนอมอาหารด้วยวิธีการเหล่านี้ทำได้ทั้งพืชและสัตว์ อาหารที่นิยมรับประทานและเก็บไว้นานคือ
1. เนื้อเค็ม (ชิ้นแห้ง) เนื้อเค็มมี 2 ชนิด เนื้อเค็มแผ่นบาง ๆ และเนื้อเค็มเป็นเส้นยาวเรียกว่า “ซิ้นหลอด”
2. ส้มหมู (ซิ้นส้ม) หรือที่เรียกว่า แหนม นิยมห่อกับใบมะยมอ่อน รับประทานได้ทั้งใบมะยม
3. ไส้กรอก ภาคอีสานจะนิยมรับประทานไส้กรอกอยู่ 2 ชนิด คือ ทำด้วยเนื้อวัว และเนื้อหมู เก็บไว้ประมาณ 2-3 วันจะเกิดรสเปรี้ยว

4. เค็มบักนัด (เค็มสัปปะรด) ทำจากปลาปึ่งกับสับปะรดออกรสเค็มของปลารสเปรี้ยวของสับปะรดรับประทานกับผักสด หรือจะนำมาปรุงเป็นน้ำพริกทรงเครื่องหรือทำหลนคล้านหลนเต้าเจี้ยว
5. หม่ำ มี 5 ชนิด
5.1 ใช้เนื้อวัดบดละเอียดใส่ในไส้วัวหรือกระเพาะปัสสาวะของวัว
5.2 ตับ บดให้ละเอียดใส่ในไส้วัว
5.3 เนื้อวัวผสมตับ ลักษณะการบิเหมือนกัน คือบดให้ละเอียดแล้วอัดใส่ในไส้วัวเวลารับประทานจะนำมาทอดย่างหรือคั่ว ใส่พริกสด หอมแดงสด ตะไคร้ ใบมะกรูด หรือจะปรุงรสด้วยมะนาวให้เปรี้ยว รับประทานกับผักสด
6. แจ่วบอง จัดเป็นน้ำพริกแห้ง เครื่องปรุงได้แก่ พริกสด กระเทียม พริกแห้ง หอมแดงแห้ง ข่า ตะไคร้ เผาให้สุก (อีสานจะเรียกหมกให้สุก) ปลาย่างให้แห้ง โขลกให้ละเอียด แล้วจึงนำมาปรุงรสกับปลาแดกต้มสุก มะขามเปียก (เครื่องปรุงทุกชนิดต้องทำให้สุกจะเก็บไว้ได้นาน)
7. ลาบปลาแดก ใช้ปลาแดกที่เป็นตัว เช่น ปลาช่อน ปลาปึ่ง ปลาอีตู๋ เอาแต่เนื้อมาสับพร้อมกับพริกสด กระเทียม ข่า ตะไคร้ เผาให้สุกสับให้ละเอียดนำมาปรุงกับน้ำมะนาวและใบมะกรูดหั่นฝอย (เครื่องพริกสด กระเทียม ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูดจะไม่เผาก็ได้)
8. ปลาส้ม นิยมนำปลาตะเพียน ปลาสูด ปลานวลจันทร์ ปลาอีตู๋ ที่สด ขูดเกล็ดออกหมักกับเกลือและข้าวเหนียวนึ่งคั้นให้เข้ากัน แล้วหมักเอาไว้ในไหปิดไว้ไม่ให้อากาศเข้า


แหล่งที่มา
1.จาก “สังคมและวัฒนธรรมอีสาน” เอกสารประกอบนิทรรศการถาวร “อีสานนิทัศน์” 2549 หน้า 125-188

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น