This nice Blogger theme is compatible with various major web browsers. You can put a little personal info or a welcome message of your blog here. Go to "Edit HTML" tab to change this text.
RSS

ปฏิทิน

วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2553

วิถีชีวิต-ความเชื่อ


อีสานเป็นสังคมเกษตรกรรมมีความผูกพันกับธรรมชาติอย่างใกล้ชิดและสืบทอดกันมายาวนาน ทั้งการสั่งสมความคิด ภูมิปัญญา ศรัทธาและความเชื่อในหลายรูปแบบ เช่น ความเชื่อในเรื่องบุญ-บาป ขวัญ-วิญญาณ เทวดา-ผีและสิ่งลึกลับอื่น ๆ
ผีฟ้า ผีแถน
ชาวอีสานเชื่อว่าผีฟ้าหรือผีแถบเป็นเจ้าแห่งผีเป็นผู้สร้างโลกและสรรพสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาในตำนานเรื่องขุนบรมได้กล่าวถึงการดำเนิดโลกมนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลายว่า เมื่อขุนบรมลงมาครองเมืองได้ 9 ปีเกิดเครือเขากาดขึ้นในบริเวณกลางสระน้ำและไชชอนไปตามต้นไทรใหญ่จนบดบังแสงอาทิตย์ทำให้โลกอยู่ในความมืด เดือดร้อนถึงผีแถนหรือแถนฟ้าคื่น ผู้ส่งให้ขุนไล ขุนใยและแม่ย่าง่ามลงมาตัดเครือเขากาดพร้อมกับให้แถนชี แถนสิ่วเจาะผลน้ำเตาปุ้ง (ผลน้ำเต้าขนาดใหญ่) 2 ผล ทำให้มนุษย์สัตว์สิ่งของพืชพันธุ์ต่าง ๆ หลั่งไหลออกมาจากน้ำผลน้ำเต้าปุ้งนั้น กล่าวกันว่าผีฟ้าจะคอยช่วยเหลือมนุษย์เมื่อยามประสบภัยพิบัติ และเป็นผีที่อยู่ในระดับสูงกว่าผีชนิดอื่น ๆ ชาวอีสานทุกท้องถิ่นจึงนับถือผีฟ้ากันอย่างจริงจัและมีพิธีกรรมเกี่ยวข้องกับผีฟ้าหลายลักษณะ เช่น การทำบุญบั้งไฟเดือนหก เป็นต้น

แถน เป็นคำเรียกโดยความหมายรวมหมายถึง เทวดา ซึ่งมีอยู่หลายระดับ แถนที่เป็นใหญ่หรือแถนหลวงนั้นเชื่อกันว่าเป็นพระอินทร์ ผีฟ้าหรือผีแถนมักจะมีเชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นต่าง ๆ เช่น ผีหลวง ผีไท้ ผีไทเทิง แถนแนน แถนคอ แถนเคาะ แถนชั่ง แถนเถือกหรือฟ้าแถน
แถนแนน เป็นผู้กำหนดชะตาชีวิตและส่งมนุษย์ให้มาเกิดในโลก
แถนเคาะ เป็นแถนที่ทำให้เกิดการเจ็บไข้ได้ป่วยบันดาลให้เกิดเคราะห์ร้ายหรือภัยพิบัติแก่มนุษย์
แถนแม่นาง ทำให้มนุษย์เติบโต บันดาลให้มีน้ำนมเลี้ยงทารก เป็นต้น


แหล่งที่มา
1.จาก “สังคมและวัฒนธรรมอีสาน” เอกสารประกอบนิทรรศการถาวร “อีสานนิทัศน์” 2549 หน้า 125-188

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น