This nice Blogger theme is compatible with various major web browsers. You can put a little personal info or a welcome message of your blog here. Go to "Edit HTML" tab to change this text.
RSS

ปฏิทิน

วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2553

ดนตรีและการแสดง





พิณ
พิณ หรือ ซุง เป็นเครื่องดีดประเภทมีสาย จำพวกเดียวกับ ซึง กระจับปี่ จะเข้ ใช้บรรเลงได้ทั้งทำนองเพลงและประสานเสียงเป็นเครื่องดนตรีที่นิยมแพร่หลายในภาคอีสานรองจากแคน พิณพื้นเมืองของภาคอีสานทำจากไม้ซุงท่อนเดียว ทำให้บางท้องถิ่นเรียกว่า ซุง ไม้ที่นิยมทำพิณ คือ ไม้ขนุน เพาะถาด สิ่วได้ง่าย ให้เสียงเพะสดใส ขนาดของพิณจะขึ้นอยู่กับขนาดของท่อนไม้ และความต้องการของผู้ทำ สันนิษฐานว่าพิษเป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับอิทธิพล จากวัฒนธรรมของอินเดียสมัยโบราณ แล้วดัดแปลงให้เข้ากับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวอีสาน ทั้งด้านความประณีต การประดิษฐ์ และการตกแต่งวัสดุที่ใช้ในการทำพิณเป็นวัสดุที่มีในท้องถิ่น ในส่วนของการบรรเลงพิณจะบรรเลงได้ทั้งเดี่ยวและรวมกับเครื่องดนตรีที่มีระดับเสียงครบ 7 เสียง ตามระดับเสียงสากล จึงให้สามารถบรรเลงได้ทั้งเพลงพื้นบ้านอีสาน ลายแคนต่าง ๆ เพลงไทยเดิม และเพลงสากล
โหวด
โหวด เป็นเครื่องเป่าเปิดไม่มีลิ้นทำด้วยไม้ลูกแคน (ไม้กู่แคน) เสียงจะเกิดจากกระแสลมที่ผ่านไม้กู่แคน แคนขนาดลิ้นยาวแตกต่างกันตามระดับเสียงสูงต่ำของไม้กู่แคน ซึ่งนำมาติดอยู่รอบๆ แกนกลาง แกนกลางจะทำด้วยไม้ไผ่ติดไม้กู่แคน ด้วยขี้สูด (ขันโรง) โหวดเส้นจะประกอบด้วยไม้กู่แคน 6-9 ลำ เวลาเป่าจะหมุนไป

รอบ ๆ ปาก เลือกเป่าเสียงตามต้องการ โหวดเป็นเครื่องดนตรีที่มีมาตั้งแต่โบราณ ซึ่งจะมีการเล่นสะแนโหวด เป็นการละเล่นอย่างหนึ่งของชาวอีสาน โดยผู้เล่นจะทำเป็นบ่วง 2 บ่วง รวบชายรวมกัน คล้องส่วนหัวและส่วนหางของโหวด แล้วแกว่งเป็นรูปวงกลมรอบ ๆ ตัว เสียงโหวดจะดัง “แงว แงว” เรียกว่า การแงวโหวด พอแงวเสร็จก็จะปล่อยบ่วงโหวดให้ลอยไปในอากาศ เสียงดัง “โว โว” เรียกว่าการทิ้งโหวดเป็นตัวตัดสิน ปัจจุบันมีการพัฒนาโหวดให้เป็นเครื่องดนตรีเล่นได้ครบ 7 เสียง เสียงตามระดับเสียงสากล นำมาเล่นรวมวงกับเครื่องดนตรีชนิดอื่น

แหล่งที่มา
1.จาก “สังคมและวัฒนธรรมอีสาน” เอกสารประกอบนิทรรศการถาวร “อีสานนิทัศน์” 2549 หน้า 125-188

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น