This nice Blogger theme is compatible with various major web browsers. You can put a little personal info or a welcome message of your blog here. Go to "Edit HTML" tab to change this text.
RSS

ปฏิทิน

วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2553

ปัจจัยในการดำรงชีพ (เครื่องนุ่งห่ม)




การทอผ้า
การทอผ้าเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านของชาวอีสานที่ถือเป็นหน้าที่ของสตรีที่จะใช้เวลาว่างการเก็บเกี่ยว มาทอผ้าสำหรับนำมาใช้ในครอบครัวหรือประเพณีต่าง ๆ ชาวอีสานรับอิทธิพลของธรรมชาติรอบข้างมาใช้เป็นศิลปะในการทอผ้าลายต่าง ๆ เทคนิคและกรรมวิธีการผลิตผ้าไหมและผ้าฝ้ายเป็นขั้นตอน ที่เกิดจากการผสมผสานประสบการณ์เทคโนโลยีพื้นบ้านที่สืบต่อกันมาเป็นเวลานานโดยรูปแบบของผ้า เรียกตามเทคนิคการ

ทอ เช่น ผ้าขิด ผ้ามัดหมี่ ล้วนมีความสัมพันธ์กับผ้าทอในดินแดนใกล้เคียง เช่น ลาวและกัมพูชา ทั้งยังมีการแลกเปลี่ยนความรู้ในการให้รูปแบบเทคนิค และลวดลายการทอผ้าแก่กัน อันเป็นผลมาจากการอพยพเคลื่อนย้ายของผู้คนจากประเทศเพื่อนบ้านและกลุ่มชนที่ตั้งหลักแหล่งอยู่ปัจจุบันทำให้รูปแบบของผ้าอีสานมีความหลากหลายและผสมผสานจนออกมาเป็นรูปแบบเฉพาะท้องถิ่น จนเป็นเอกลักษณ์ของภูมิภาค

การเตรียมเส้นไหม
การเตรียมเส้นไหมไปมัดหมี่ให้เป็นลวดลาย
1. การเตรียมเส้นเครือ: จะนำไหมที่แกว่งแล้วไปคันหูก โดยใช้หลักเฝือ เพื่อกำหนดความยาวตามต้องการ เมื่อได้เส้นไหมยาวตามต้องการแล้วจึงนำไปย้อมสีตากให้แห้งนำไปสืบหูกเพื่อเตรียมทอเป็นผ้า
2. การเตรียมเส้นตำ: นำไหมที่แกว่งแล้วไปแกว่งเพื่อทำเป็นฝอย แล้วย้อมสีตามให้แห้งนำไปกวักเข้าอักและปั่นหลอดใส่กระสวย สำหรับตำหรือพุ่งเป็นผืนผ้า
3. การเตรียมเส้นตำ (เส้นหุ่ง) ที่มัดหมี่เป็นลวดลาย: การมัดหมี่เป็นการมัดหรือผูกเส้นไหมให้เป็นลวดลายต่าง ๆ วิธีการเริ่มจากการนำเส้นไหมที่แกว่งแล้วทำเป็นฝอย แล้วนำไปใส่โฮงหมี่(หลักมัดหมี่) เมื่อมัดเสร็จแล้วปลดออกจากโฮงหมี่ไปย้อมสี (ส่วนที่มัดสีจะไม่ติด) ผู้ย้อมจะใช้น้ำสีแต้มให้เป็นสีตามต้องการนำไปตากให้แห้งกวักเข้าอัก เพื่อปั่นหลอดร้อยหลอดเรียงตามลำดับก่อนหลัง ห้ามสลับกันนำไหลอดไปใส่กระสวยเป็นเส้นพุ่งทอเป็นผืนผ้าต่อไป


การเตรียมเส้นฝ้ายเพื่อทอ
1. การเตรียมเส้นตำ: กลุ่มเส้นตำจะมีทั้งเส้นตำที่เป็นสีพื้นและเส้นตำที่เป็นมัดหมี่หรือมัดย้อม เส้นตำที่มัดหมี่หลังบ่าและฟอกเรียบร้อยแล้วจะนำไปใส่โฮงหมี่ และมัดลวดลายตามที่ต้องการ เสร็จแล้วไปย้อมสีตามต้องการแล้วจึงแกะเชือกที่มัดออกแล้วนำมากางใส่กงเพื่อปั่นด้ายจากกงใส่อีกเรียกว่า “การกวัก” จากนั้นจึงปั่นด้ายจากอักใส่หลอดโดยดึงปลายด้านหนึ่งพันกับหลอดไม้เล็ก ๆ สอดอยู่ที่แกนของเหล็กในหมุนมือหมุน ให้เหล็กไนหมุนเพื่อปั่นด้ายเข้าหลอด

2. การเตรียมเส้นสำหรับเข็นเป็นเส้นเครือ: หลังจากผ่านการบ่าและฟอกแล้วนำมาย้อมใส่กงและปั่นจากกงใส่อัก เรียกว่า “การกวัก” เช่นเดียวกันเมื่อได้เส้นฝ้ายจากการกวักฝ้ายอยู่ในอีกแล้วนำอัก 2 อันมาคัน เรียกว่า “การคันหูก” เพื่อกำหนดเส้นเพื่อจะทำเป็นเส้นเครือ ทำคัดต้องคันด้าย 2 เส้นพร้อมกัน ถ้าต้องการให้หนาให้ใส่สี่เส้นจะใส่เส้นเดียวไม่ได้เพราะต้องใช้เป็นเส้นบนเส้นล่าง เมื่อเตรียมเส้นด้ายเรียบร้อยแล้วให้พันเส้นด้ายคล้องไปตามหลักแต่ละหลักเผือจากล่างไปถึงบนสุดแล้วพันเส้นด้ายกลับมาทางเดิม ด้านล่างตรงนี้เป็นจุดสำคัญไขว้เส้นด้ายให้เป็นเส้นบนเส้นล่าง ซึ่งจะนำไปสืบเข้ากับเขาและฟืมต่อไป เมื่อได้จำนวนเส้นครบพอกับฟืมแล้วจึงถอดด้ายออกจากหลักเผือเพื่อเก็บนำไปสืบหูกต่อไปเรียกด้านที่คันแล้วว่า “เครือหูก” จากนั้นนำด้ายนี้ไปใส่ในช่องพันฟืม โดยนำเส้นแต่ละเส้นผูกต่อกันกับเส้นด้ายที่มีอยู่แล้ให้แนบแน่น และครบทุกส้น

แหล่งที่มา
1.จาก “สังคมและวัฒนธรรมอีสาน” เอกสารประกอบนิทรรศการถาวร “อีสานนิทัศน์” 2549 หน้า 125-188

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น