This nice Blogger theme is compatible with various major web browsers. You can put a little personal info or a welcome message of your blog here. Go to "Edit HTML" tab to change this text.
RSS

ปฏิทิน

วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2552

32 ธันวา

PAI IN LOVE ปายอินเลิฟ

จังหวัดขอนแก่น



ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

สถานที่ตั้ง : ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลขอนแก่น อยู่ระหว่างบ้านเมืองเก่า
บ้านโนนทันและบ้านตูมใกล้ที่ตั้งของศูนย์ประชาสัมพันธ์เขต 1 ขอนแก่น

ลักษณะทั่วไป: เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติ มีพื้นที่ประมาณ 600 ไร่ มีน้ำตลอดปี ในฤดูฝน
จะมีน้ำเต็มฝั่งสวยงาม แต่ละมุมยังมีสิ่งก่อสร้างทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม มีรูปปั้นเกี่ยว
กับการดำรงชีวิตและศิลปะอีสาน เช่น คนเป่าแคนขี่ควาย มีล้อเกวียน มีรูปกิ้งก่ายักษ์ มีรูป
นกแร้งกำลังกินงู มีรูปคางคก กบ เต่า และอื่น ๆ อีกมากมาย

เส้นทางสู่บึงแก่นนคร :
..... ไปตามถนนมิตรภาพเข้าสู่ถนนกลางเมืองตรงไปเรื่อยๆจนถึงที่ตั้งของศูนย์ประชาสัมธ์เขต 1 ขอนแก่น(ที่ตั้งเดิม)
ก็จะมองเห็นที่ตั้งของบึงแก่นนคร

แหล่งที่มา
1.http://province.prd.go.th/khonkaen/tour/kaennakorn.html

จังหวัดขอนแก่น



ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น


สถานที่อันศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่เคารพสักการะของชาวขอนแก่นแห่งนี้ประดิษฐานอยู่ที่ศาลาสุขใจ ถนนเทพารักษ์หน้าเทศบาลขอนแก่น ท่านเจ้าคุณปู่พระราชสารธรรมมุนี และหลวงธุรนัยพินิจ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นได้ริเริ่มสร้างขึ้น โดยนำหลักศิลาจารึกจากโบราณสถานในท้องที่อำเภอชุมแพมาประกอบพิธีทางพุทธศาสนา และตั้งเป็นศาลหลักเมืองเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2499

แหล่งที่มา
1.http://www.annaontour.com/province/khonkaen/sanlagmeangkhonkean.php

จังหวัดขอนแก่น



ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น


ประวัติวัดหนองแวงพระอารามหลวง
วัดหนองแวง เดิมชื่อวัดเหนือ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2332 พร้อมกับวัดกลาง และวัดธาตุ โดยท้าวเพียเมืองแพน เจ้าเมืองคนแรก ณ บ้านบึงบอน (บึงแก่นนคร) พ.ศ.2354 ท้าวจามมุตร ท้ายเพียเมืองแพน เจ้าเมืองคนที่ 2 ได้ย้ายเมืองไปอยู่บ้านดอนพันชาติ เขตเมืองมหาสารคาม (บ้านโนนเมือง ตำบลแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม) บ้านบึงบอนจึงกลายเป็นเมืองเก่าตั้งแต่นั้นมา
ปัจจุบันนตั้งอยู่เลขที่ 593 ถนนกลางเมือง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.2442 โดยพระยานครศรีบริรักษ์(อู๋) และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2527 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร มีเนื้อที่ดินที่ตั้งวัด 26 ไร่ 65 ตารางวา โดยมีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์เป็นโฉนด 713 เลขที่ 28 หน้าสำรวจ 794 เล่มที่ 8 หน้า 13

อาณาเขต
ทิศเหนือ ยาว 135 เมตร จดถนนหนองแวงพัฒนา
ทิศใต้ ยาว 160.50 เมตร จดล่องน้ำและที่ดินนายพิศ วรราช
ทิศตะวันออก ยาว 151.40 เมตร กับ 120.80 เมตร จดถนนรอบบึงแก่นนคร และที่ดิน นางทองม้วน บุตรกสก
ทิศตะวันตก ยาว 246.70 เมตร ติดถนนกลางเมือง

ลักษณะพื้นที่ตั้งวัดและบริเวณโดยรอบ
เป็นที่ราบเรียบ เป็นลักษณะ 6 เหลี่ยม มีหมู่บ้านล้อมรอบสามด้าน และมีบึงแก่นนครอยู่ทางทิศตะวันออกของวัดเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ปี พ.ศ.2524 เป็นวัดพัฒนาดีเด่น ปี พ.ศ. 2526 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะขึ้นเป็น พระอารามหลวง
ปีพ.ศ. 2527

รายนามเจ้าอาวาส
รายนามหเจ้าอาวาสตั้งแต่เริ่มก่อสร้างวัดใน ปี พ.ศ. 2332 - ปี พ.ศ. 2421 ไม่ปรากฏนามเจ้าอาวาสเริ่มจากปี
พ.ศ.2422 - ปีปัจจุบัน มีรายนามเจ้าอาวาสจำนวน 9 รูป คือ
รูปที่ 1 ท่านพระครูลูกแก้ว พ.ศ. 2422 - พ.ศ. 2436
รูปที่ 2 ท่านพระอาจารย์เม้า เมืองยโสธร พ.ศ. 2436 - พ.ศ. 2439
รูปที่ 3 ท่านพระอาจารย์เหลา พ.ศ. 2439 - พ.ศ. 2441
รูปที่ 4 ท่านพระอาจารย์น้อย พ.ศ. 2441 - พ.ศ. 2443
รูปที่ 5 ท่านพระอาจารย์บุญตา พ.ศ. 2443 - พ.ศ. 2452
รูปที่ 6 ท่านหลวงปู่พระครูปลัดบุษบา พ.ศ. 2452 - พ.ศ. 2498

แหล่งที่มา
1.http://province.prd.go.th/khonkaen/tour/nongwang.html

จังหวัดขอนแก่น



ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น


พระธาตุขามแก่น ตั้งอยู่ที่วัดเจติยภูมิ บ้านขาม หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านขาม อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น เป็นปูชนียสถานของจังหวัดขอนแก่น บ้านขามเคยเป็นเมืองมาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นเวลาประมาณ 300 ปี พ.ศ 2332 เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ ชื่อ เพี้ยเมืองแมน (ปัจจุบันคือ จังหวัดร้อยเอ็ด) ได้มาตั้งเมืองขามแก่นที่ บ้านขาม พุทธศตวรรษที่ 25 พระยาหลังเขียว หรือโมริย กษัตริย์เจ้าเมืองโมรีย์ (เมืองโมรีย์อยู่ในอาณาเขตของประเทศกัมพูชา) สร้างพระธาตุขามแก่น ตั้งอยู่ในวัดเจติยภูมิ ตำบลบ้านขาม

ตำนานพระธาตุขามแก่น

ตำนานที่หนี่ง
นับแต่การเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เมื่อถวายพระเพลิงเสร็จ แล้ว พระบรมสารีริกธาตุได้ถูกนำไปประดิษฐานไว้ในที่ต่าง ๆ คือ พระสารีริกธาตุกระโยงหัว (กระโหลกศีรษะ) ฆะฏิการพรหมนำไปไว้บนเทวโลก, พระธาตุเขี้ยวหมากแง (พระเขี้ยวแก้ว) พระอินทร์นำไปไว้บนสวรรค์ชั้นดาวดึงษ์,พระธาตุกระดูกด้ามมีด (พระรากขวัญ ) พระยานาคนำไปไว้เมืองบาดาล
ครั้งต่อมาโมริยกษัตริย์เจ้านครโมรีย์ (อยู่ในประเทศกัมพูชาปัจจุบัน) ทราบข่าวภายหลังเพราะอยู่ห่างไกลและเดินทางช้า จึงได้แต่พระอังคารธาตุ (ฝุ่น) แล้วนำไปไว้ที่นครของตน ประมาณพุทธศักราชล่วงมาได้ 3 ปี พระมหากัสสปะเถระเจ้า พร้อมด้วยพระอรหันต์ 500 องค์ นำเอาพระอุรังคธาตุ (กระดูกส่วนอก) ไปประดิษฐานไว้ภูกำพร้า (พระธาตุพนมในปัจจุบัน) พระยาหลังเขียว โมริยกษัตริย์ และพระอรหันต์ยอดแก้ว, พระอรหันต์รังษี, พระอรหันต์คันที และไม่ปรากฏชื่ออีก 6 องค์ จึงเดินทางพร้อมอัญเชิญเอาพระอังคารธาตุเพื่อไปบรรจุไว้ในพระธาตุพนมด้วย ระหว่างทางได้มาถึงพื้นที่แห่งหนึ่ง (ที่ตั้งของพระธาตุขามแก่นในปัจจุบัน) มีพื้นที่พื้นที่ดอน ราบเรียบ มีห้วยสามแยก น้ำไหลผ่านรอบดอน และมีต้นมะขามใหญ่ที่ตายแล้วเหลือแต่แก่นอยู่ต้นหนึ่ง
ขณะนั้นเป็นเวลาพลบค่ำพอดี ประกอบกับพื้นที่มีความเหมาะสมจึงได้พักแรมที่นี่ และนำเอาพระอังคารธาตุไปวางพักไว้บนแก่นของต้นมะขามที่ตายแล้วดังกล่าว พอรุ่งเช้าทั้งคณะก็เดินทางมุ่งหน้าสู่สถานที่ก่อสร้างพระธาตุพนมต่อไป
พอไปถึงปรากฏว่าพระธาตุพนมได้สร้างเสร็จแล้ว ไม่สามารถนำพระอังคารธาตุบรรจุลงไปได้อีก จึงจำต้องนำเอาพระอังคารธาตุนั้นกลับตามเส้นทางเดิม โดยตั้งใจว่าจะนำกลับไปไว้ที่นครของตนตามเดิม เมื่อมาถึงดอนมะขามซึ่งเคยเป็นที่พักแรม ครั้งก่อน ได้เห็นต้นมะขามใหญ่ที่ล้มตายเหลือแต่แก่นนั้นกลับผลิตดอก ออกผล แตกกิ่งก้านสาขามีใบเขียวชะอุ่มแลดูงามตายิ่งนัก จะเป็นด้วยเทพเจ้าแสร้งนิมิต หรือด้วยอำนาจอภินิหารของพระอังคารธาตุก็มิอาจรู้ได้ เห็นเป็นอัศจรรย์เช่นนั้นจึง พร้อมกันก่อสร้างพระธาตุครอบต้นมะขาม และบรรจุพระอังคารธาตุของพระเจ้าไว้ภายในด้วย โดยมีรูปลักษณะดังที่เราเห็น อยู่ในปัจจุบันนี้ จึง เรียกชื่อพระธาตุนี้ว่า "พระธาตุขามแก่น"
หลังจาการก่อสร้างพระธาตุเสร็จแล้ว พระยาหลังเขียวพร้อมด้วยบริวารได้สร้างบ้านแปลงเมืองอยู่ตรงนี้ และได้สร้างวัดให้เป็นที่พำนักของพระอรหันต์ทั้ง 9 องค์ ซึ่งมีวิหาร และพัทธสีมาเคียงคู่กับองค์พระธาตุสืบมา ครั้นกาลล้วงมาพระอรหันต์ทั้ง 9 องค์ก็ได้ดับขันธ์ปรินิพพาน ชาวเมืองนำเอาอัฐิธาตุของท่านบรรจุไว้ในพระธาตุองค์เล็ก ซึ่งอยู่ด้านทิศตะวันออกของ อุโบสถในเวลานี้ ต่อมาประชาชนจึงเรียกพระธาตุองค์ใหญ่ว่า ครูบาทั้งเก้าเจ้ามหาธาตุ ส่วนพระธาตุองค์เล็กเรียกว่า ครูบาทั้งแปด

ตำนานที่สอง
มีเรื่องราวคล้ายตำนานที่หนึ่ง แต่กล่าวว่าพระอรหันต์ที่อัญเชิญพระอังคารธาตุนั้น มีเพียง 2 องค์เท่านั้น

ตำนานที่สาม
แต่เดิม ณ ที่นี้เป็นที่รกร้างว่างเปล่า ต่อมาเมื่อเริ่มมีชาวบ้านเข้ามาหักล้างถางพง จับจองที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยนั้น ชาวบ้านพบว่ามีตอมะขามที่ตายแล้วเหลือแต่แก่นอยู่ต้นหนึ่ง แต่ต่อมาปรากฏว่าแก่นมะขามนั้นกลับมีการแตกใบ ผลิดอก ดูแปลกประหลาด และพบว่าหากมีใครที่ไปทำการอะไรที่เป็นการดูหมิ่นหรือลบหลู่ตอมะขามนั้น คนผู้นั้นก็จะมีอันเป็นไป ชาวบ้านจึงเกิดความเคารพบูชา และร่วมกันสร้างเจดีย์ครอบตอมะขามนั้นไว้ พร้อมกับบรรจุพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า 9 ประการ ไว้ในนั้นด้วย จึงเรียกเจดีย์ที่สร้างนั้นว่า พระเจ้าเก้าพระองค์ หรือ เจดีย์บ้านขาม ต่อมาจึงเป็นพระธาตุขามแก่น

ประเพณี
งานฉลองและนมัสการพระธาตุขามแก่น ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 การสักการะ ใช้ธูป เทียน ดอกไม้ ขันแปดเก้า ในวันขึ้น 15 ค่ำ ของทุกเดือน พระธาตุขามแก่น พระธาตุขามแก่นเป็นปูชนียสถานสำคัญคู่เมืองขอนแก่นและเป็นที่เคารพสักการะของชาวจังหวัดขอนแก่น ตั้งอยู่ในบริเวณวัดเจติภูมิ บ้านขาม หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านขาม อำเภอน้ำพอง อยู่ห่างจากจังหวัดขอนแก่นประมาณ 30 กิโลเมตร เดินทางไปตามถนนสายขอนแก่น -กาฬสินธุ์ เลี้ยวซ้ายที่หลักกิโลเมตรที่ 12 บ้านโคกสี เป็นถนนราดยางตลอด มีป้ายบอกทางไปพระธาตุ ขามแก่นเป็นระยะๆ จนถึงองค์พระธาตุ พระธาตุขามแก่นมีลักษณะเป็นเจดีย์ฐานสามเหลี่ยมทรงอีสาน องค์พระธาตุสูง 19 เมตร
ฐานด้านทิศตะวันออกและตะวันตกกว้าง 10.90 เมตรเท่ากัน รอบองค์พระธาตุมีกำแพงแก้วล้อมรอบ ทั้ง 4 ด้าน สูง 1.20 เมตร กำแพงแก้วห่างจากองค์พระธาตุโดยเฉลี่ย 2.30 เมตร ทุกด้านมีประตูเข้าออก ด้านทิศเหนือ 2 ช่อง และทิศใต้ 2 ช่อง กว้างช่องละ 1 เมตร ตำนานพระธาตุขามแก่น ประมาณ พ.ศ. 3 พระมหากัสสปได้นำเอาพระอุรังคธาตุของพระ พุทธเจ้ามาประดิษฐานที่ภูกำพร้าและได้สร้างองค์พระธาตุพนมขึ้น พระยาหลังเขียวโมรียกษตริย์ทราบ ข่าวดังนั้น เกิดศรัทธาใคร่นำพระอังคารมาบรรจุไว้ด้วยกัน จึงได้เดินทางมาพร้อมกับข้าราชบริพาร และพระอรหันต์ทั้ง 9 องค์
ในระหว่างเดินทางได้ผ่านดอนมะขามแห่งหนึ่งเป็นเวลาค่ำพอดี จึงได้พา กันพักแรมในสถานที่นี้ ในบริเวณที่พักมีต้นมะขามตายต้นใหญ่ต้นหนึ่ง มีแต่แก่นข้างใน จึงได้เอาพระ อังคารเก็บไว้ในต้นมะขามต้นนี้ ครั้งเมื่อเดินทางต่อไปยังภูกำพร้า ปรากฏว่าองค์พระธาตุพนมสร้างเสร็จไปเรียบร้อยแล้ว จึงต้องเดินทางกลับถิ่นเดิม เมื่อเดินทางมาถึงดอนมะขามบริเวณที่พักที่เดิมก็พบว่าต้นมะขามที่ตายเหลือแต่แก่นต้นนั้น กลับยืนต้นแตกกิ่งก้านสาขา มีใบเขียวชะอุ่ม และดูงามตาเป็นอัศจรรย์ พระยาหลังเขียวและพระอรหันต์ทั้ง 9 องค์ จึงตกลงใจสร้างพระธาตุครอบต้นมะขาม โดยบรรจุพระอังคารของพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยแก้วแหวนเงินทอง โดยทำเป็นพระพุทธรูปแทนพระองค์เข้าบรรจุไว้ในองค์พระธาตุ และก่อสร้างบ้านเรือน ณ บริเวณใกล้ๆพระธาตุ
ส่วนพระอรหันต์ทั้ง 9 องค์ ก็ได้จัดสร้างวัดเคียงคู่พระธาตุ เมื่อพระอรหันต์ทั้ง 9 องค์ได้ดับขันธ์ปรินิพพาน ประชาชนได้นำพระธาตุของพระอรหันต์บรรจุไว้ในพระธาตุองค์เล็กซึ่งอยู่ใกล้พระธาตุขามแก่นเรียกว่าครูบาทั้งเก้า เจ้ามหาธาตุ มาจนทุกวันนี้ทุกวันเพ็ญ เดือน 6 จะมีงานฉลององค์พระธาตุขามแก่นเป็นงานประจำปี

แหล่งที่มา
1.http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%99
2.หนังสือประวัติพระธาตุขามแก่น. วัดเจติยภูมิ
3.สุพจน์ ทองเนื้อขาว. (2541). ความเชื่อเกี่ยวกับพระธาตุขามแก่น ตำบลบ้านขาม อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

จังหวัดขอนแก่น




ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

ประวัติความเป็นมา
ฟอสซิลไดโนเสาร์ชิ้นแรกของไทยพบที่อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ในปี 2519 โดยนายสุธรรม แย้มนิยม อดีตนักธรณีวิทยาของกรมทรัพยากรธรณี ขณะสำรวจแร่ยูเรเนียม ในหมวดหินเสาขัว ที่อุทยานแห่งชาติภูเวียง บริเวณห้วยประตูตีหมา กระดูกชิ้นนี้มีความกว้างยาวประมาณ 1 ฟุต จากการเปรียบเทียบพบว่ามีลักษณะใกล้เคียงกับไดโนเสาร์ซอโรพอด ซึ่งมีขนาดใหญ่ยาวประมาณ 15 เมตร และจากการตรวจสอบพบว่าเป็นส่วนปลายล่างสุดของกระดูกต้นขาของไดโนเสาร์จำพวกกินพืช การสำรวจไดโนเสาร์ที่ภูเวียงได้เริ่มต้นอย่างจริงจังในปี 2524 โดยนายเชิงชาย ไกรคง นักธรณีวิทยาจากกรมทรัพยากรธรณี ได้พาคณะสำรวจโบราณชีววิทยาไทย และฝรั่งเศสขึ้นไปสำรวจกระดูกไดโนเสาร์บริเวณยอดห้วยประตูตีหมา อำเภอภูเวียงคณะสำรวจพบกระดูกไดโนเสาร์ชนิดกินพืชขนาดใหญ่ รวมทั้งฟันจระเข้ กระดองเต่า ฟันและเกล็ดปลาโบราณ และจากการสำรวจในเวลาต่อมาได้พบกระดูกไดโนเสาร์อีกหลายชนิด ศูนย์ศึกษาวิจัยและพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียงจัดตั้งขึ้น โดยความร่วมมือของกรมทรัพยากรธรณี การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และจังหวัดขอนแก่น เพื่อเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าของนักวิชาการ สำหรับให้การศึกษาแก่เยาวชน และเป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดขอนแก่น
แหล่งขุดค้นพบซากฟอสซิลไดโนเสาร์ ภายหลังจากการค้นพบซากฟอสซิลไดโนเสาร์ชิ้นแรกแล้ว ต่อมาได้มีการขุดค้นพบซากฟอสซิลรวมถึงรอยเท้าไดโนเสาร์ รวม 9 หลุม ดังนี้
หลุมที่ 1 (ประตูตีหมา)
พบกระดูกไดโนเสาร์ขนาดใหญ่จำนวนมากเรียงรายอยู่ในชั้นหิน

หลุมที่ 2 (ถ้ำเจีย)
พบกระดูกส่วนคอของไดโนเสาร์ซอโรพอดเรียงต่อกัน จำนวน 6 ชิ้น

หลุมที่ 3 (ห้วยประตูตีหมา)
พบกระดูกสันหลัง กระดูกซี่โครงหลายชิ้น ของไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่

หลุมที่ 4 (โนนสาวเอ้)
พบฟอสซิลกระจายเป็นบริเวณกว้างกว่า 10 ตารางเมตร ประกอบด้วยกระดูกไดโนเสาร์ซอโรพอดขนาดใหญ่ และที่อยู่ในวัยเยาว์ นอกจากนั้นยังพบเกล็ดปลาเลปิโดเทสและกระดองเต่า

หลุมที่ 5 (ซำหญ้าคา) หลุมที่ 6 (ดงเค็ง) และหลุมที่ 7 (ภูน้อย)
พบไดโนเสาร์ทั้งขนาดใหญ่และที่ยังเยาว์ และยังพบฟอสซิลของจระเข้ขนาดเล็กอีกด้วย

หลุมที่ 8 (หินลาดป่าชาด)
พบรอยเท้าไดโนเสาร์ มากกว่า 60 รอยใน 10 แนวทางเดิน เป็นของไดโนเสาร์พวกกินเนื้อขนาดเล็ก ซึ่งเดินด้วย 2 ขาหลัง

หลุมที่ 9 (หินลาดยาว)
พบกระดูกสันหลังหลายชิ้นโผล่มาจากชั้นหินทรายสีแดงของหมวดหินเสาขัว และยังพบส่วนของสะโพกด้านซ้ายและกระดูกส่วนหางกว่า 10 ชิ้น ของพวกไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ ยาวประมาณ 6.5 เมตร

สถานที่ตั้ง
ศูนย์ศึกษาวิจัยแลพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง ตั้งอยู่ใกล้อุทยานแห่งชาติภูเวียง อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น โดยอยู่ห่างจากตัวจังหวัดขอนแก่นไปทางทิศตะวันตกเป็นระยะทางประมาณ 87 กิโลเมตร การเข้าถึงพื้นที่ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 12 ซึ่งเป็นถนนสายยาว ติดต่อจากจังหวัดตากทางด้านทิศตะวันตกผ่านจังหวัดสุโขทัย พิษณุโลก อำเภอหล่มสัก อำเภอชุมแพไปสิ้นสุดที่จังหวัดขอนแก่น โดยหากเริ่มจากจังหวัดขอนแก่นให้ใช้เส้นทางไปชุมแพ และแยกขวาเข้าอำเภอภูเวียง ตามเส้นทางหลวงสาย 2038 ซึ่งปากทางเข้าอยู่เลยอำเภอหนองเรือไปเล็กน้อย หรือหากเริ่มต้นจากอำเภอชุมแพให้ไปทางขอนแก่นแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าเส้นทางหลวงสาย 2038 เช่นเดียวกัน เมื่อเลยอำเภอภูเวียงเล็กน้อยให้ใช้เส้นทางตรงไปอุทยานแห่งชาติภูเวียง ศูนย์ศึกษาวิจัยฯ ก่อนถึงอุทยานฯ ประมาณ 3 กิโลเมตร การ

ให้บริการ
เปิดให้บริการทุกวัน (ปิดวันจันทร์ ยกเว้นวันจันทร์ที่ตรงกับวันหยุดนักขัตฤกษ์) เวลา 8.30-17.00 น. โทร. (043) 438204-6 ประชาชนสามารถเข้าชมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ภายในอาคารส่วนหนึ่งจัดแสดงเรื่องราวของการขุดค้นพบไดโนเสาร์ ที่จังหวัดขอนแก่นและใกล้เคียง เพื่อเผยแพร่ผลงานของกรมทรัพยากรธรณีให้กับนักท่องเที่ยว ส่วนที่เหลือจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับการกำเนิดโลก กำเนิดหิน แร่ วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต และสิ่งสำคัญที่เป็นเอกลักษณ์ทางประวัติศาสตร์ และทางธรรมชาติของจังหวัดขอนแก่น เพื่อให้ความรู้กับเยาวชน และผู้ที่สนใจ

แหล่งที่มา
1.http://www.dmr.go.th/ewt_news.php?nid=7118&filename=index