This nice Blogger theme is compatible with various major web browsers. You can put a little personal info or a welcome message of your blog here. Go to "Edit HTML" tab to change this text.
RSS

ปฏิทิน

วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2553

ปัจจัยในการดำรงชีพ (เครื่องนุ่งห่ม)


ลายผ้าขิด
ผ้าขิด
มีอุปกรณ์ที่สำคัญคือไม่เก็บขิดทำให้เกิดลวดลายโดยการสะกิดเส้นด้ายเส้นยืนขึ้นเป็นระยะตามลวดลายที่กำหนดทั้งนี้คำว่า “ขิด” มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่าสะกิดในภาคกลาง ลักษณะลายของผ้าขิดจะเป็นแบบลายเรขาคณิตที่เกิดจากการเว้นช่องของเส้นด้ายโดยยกเส้นยืนตามจังหวะที่ต้องการเว้น เพื่อให้เส้นพุ่งเดิน การวางเส้นยืนที่ห่างไม่เท่ากันจะทำให้เกิดลายโดยใช้ไม้เก็บขิดงัดซ้อนเส้นด้ายไปด้วยขณะที่ทอการทอผ้าขิดถือเป็นการทอผ้าที่ทำให้เกิดลวดลายสำเร็จอยู่ในกี่ลักษณะที่ผ้าขิดมักเป็นการทดลายซ้ำ ๆ กันตลอดความกว้างของผ้านิยมทอเป็นสไบหรือผ้าเบี่ยงและทำเป็นตัวหรือตีนซิ่น ในผ้าสไบช่างที่มีฝีมือสามารถประดิษฐ์ลวดลายต่างๆ เช่น ลายรูปคน ช้าง หงส์ สิงห์ ได้อย่างสวยงาม

ลายผ้าขิดที่ใช้ในโอกาสต่าง ๆ
-ขิดดอกขิด: ใช้ในงานบุญ งานบวชนาค

-ขิดลายตะเภาหลงเกาะ: ใช้ในบวชนาค
-ขิดแมงเงา: ใข้รับแขกที่บ้าน
-ขิดทัง: ใช้สำหรับสงฆ์มาทำบุญบ้าน
-ขิดขอ: ใช้แต่งห้องรับแขก
-ขิดดอกแก้ว: ใช้ไหว้ผู้ใหญ่
-ขิดกาบใหญ่: ใช้ไหว้ผู้ใหญ่
-ขิดกาบน้อย: ใช้แต่งห้องลูกเขย
-ขิดดอกจันทร์: ใช้ในงานสงกรานต์
-ขิดดอกงูเหลือม: ขิดหมากโม ขิดประแจนไช ขิดแมงงอด: ใช้ในบ้าน
-ขิดโมกระหย่อย: ใช้ปูแท่นบูชา


ลายผ้าขิด มักจะเป็นรูปทรงเรขาคณิต จุด สี่เหลี่ยม หรือเส้นตรงมี 4 ลักษณะคือ
-จุด ไม่กำหนดเป็นรูปทรงอาจจะทอกระจายหรือต่อเนื่องประกอบลวดลายอื่น ๆ
-เส้นตรง คือ การเรียงจุดให้เป็นแถวทั้งแนวนอนและแนวตั้ง
-สามเหลี่ยม มีทั้งแบบทึบทอกลวงหรือโปร่ง
-สี่เหลี่ยม นิยมใช้สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ผืนผ้า หรือสี่เหลี่ยมด้านเท่า
-ลายผสม ลายขิดที่เป็นลายของแพรวา เช่น ลายพันมหาอุ้มหงส์ ลายนาคสี่แขน ลายช่อ
ขันหมาก ลายดาวไต่เครือ

ชาวบ้านในแทบทุกพื้นที่ของภาคอีสานจะทอผ้าไว้ใช้เอง โดยใช้ฝ้ายและไหมเป็นวัตถุดิบที่สำคัญ ผ้าที่ทอได้จะนำมาใช้เป็นเครื่องนุ่มห่มและเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ใช้ในพิธีกรรมของชาวบ้านเอง หรือแม้แต่พิธีกรรมทางพุทธศาสนา ในครั้งอดีตยังใช้เป็นเครื่องแลกเปลี่ยนตามแต่โอกาสและวาระเป็นส่วยหรือเครื่องบรรณาการ เพื่อยกเว้นการเกณฑ์แรงงานของหัวเมืองใหญ่ การทอผ้าที่ใช้ในโอกาสที่สำคัญ เป็นการแสดงถึงฝีมือ ความละเอียด ความอดทนและจินตนาการของผู้ทอ รวมทั้งความเฉลียวฉลาดในการนำวัตถุดิบจากธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ทั้งในการใช้งานและความสวยงาม ดังนนั้ ผลิตผลจากการทอผ้าจึงเป็นเครื่อวัดคุณสมบัติของผู้หญิงในสังคมอีสานถึงความพร้อมที่จะเป็นภรรยาที่ดีในอนาคต ด้วยเหตุนี้ผู้หญิงจึงได้รับการถ่ายทอด ความรู้เรื่องการทอผ้าโดยผ่านระบบครอบครัวอย่างต่อเนื่อง

แหล่งที่มา
1.จาก “สังคมและวัฒนธรรมอีสาน” เอกสารประกอบนิทรรศการถาวร “อีสานนิทัศน์” 2549 หน้า 125-188

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น