This nice Blogger theme is compatible with various major web browsers. You can put a little personal info or a welcome message of your blog here. Go to "Edit HTML" tab to change this text.
RSS

ปฏิทิน

วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2553

ปัจจัยในการดำรงชีพ (ที่อยู่อาศัย)


3. ที่พักอาศัยประเภทถาวร
ที่พักอาศัยประเภทถาวรจะมีโครงสร้างเป็นไม้จริง (เรือนเครื่องสับ) รูปทรงสี่เหลี่ยมไต้ถุนสูงหลังคาทรงจั่ว เสาเป็นเสากลมหรือเสาเหลี่ยม ฝาเป็นฝาไม้ไผ่สายลายคุปหรือฝาไม้กระดาน(ฝาแอ้มแป้น) ที่พักอาศัยประเภทถาวรนี้อาจจำแนกได้เป็น 3 ประเภท คือ
3.1 เรือนเกย หรือเรือนใหญ่ต่อเกยมีส่วนประกอบสำคัญคือ
3.1.1 เรือนใหญ่ เป็นเรือนขนาด 3 ช่วงเสาหันด้านข้างไปทางทิศตะวันออก ตะวันตก (ปลูกเรือนล่องตะวัน) ตีฝากั้นปิดทึบทั้ง 4 ด้าน ฝาเรือนทางด้านหลังเจาะช่องขนาดกว้าง 1 ศอกยาว 1 ศอก เพื่อให้ลมและแสงสว่างเข้าสู่เรือนเรียกว่า “ป่องเอี้ยม” เจาะประตู 2 หรือ 3 ประตูตามช่วงเสาด้านตรงข้ามแบ่งพื้นที่ใช้ประโยชน์ในตัวเรือนออกเป็น 3 ส่วน คือ
- ห้องเปิง ตั้งอยู่ริมด้านหัวเรือนของเรือนใหญ่เป็นส่วนที่วางหิ้งสักการะบูชาผีบรรพบุรุษ ผีเรือนและหิ้งพระ หรือบางครั้งอาจใช้เป็นห้องนอนของลูกชาย ห้องเปิดอาจเรียกชื่อว่าห้องผีหรือห้องพระก็ได้

- ห้องส้วม จะตั้งอยู่ริมด้านท้ายเรือนของเรือนใหญ่ ตรงข้ามกับห้องเปิดงใช้เป็นห้องนอนของลูกสาวหรือห้องนอนของลูกสายกับลูกเขยหลังแต่งงาน
- ห้องส้วม จะตั้งอยู่ริมด้านท้ายเรือนของเรือนใหญ่ ตรงข้ามกับห้องเปิดงใช้เป็นห้องนอนของลูกสาวหรือห้องนอนของลูกสายกับลูกเขยหลังแต่งงาน
3.1.2 เกย หรือบ้านโล่ง เป็นชานที่มีหลังคาคลุม มีลักษณะเป็นการต่อชานออกมาทางด้านหน้าของเรือน มีหลังคาคลุมพื้นเป็นไม้กระดานด้านข้าง อาจเปิดโล่งหรือกั้นฝาและพื้นเกยจะมีระดับต่ำกวา่ พื้นเรือนใหญ ่ ใช้ประโยชน์เป็นพื้นที่สำหรับกิจกรรมตา่ ง ๆ ในครอบครัว เช่น รับประทานอาหาร รับรองแขกพักผ่อน อิริยาบททำบุญเลี้ยงพระ ทำพิธีสู่ขวัญ ฯลฯ
3.1.3 ชานแดด เป็นการต่อชานออกมาจากทางด้านหน้าเปิดโล่งทั้งด้านบนและด้านข้าง พื้นชานแดดจะลดระดับลงมาจากเกยใช้เป็นสถานที่พักผ่อนยามเย็น เป็นที่รับประทานอาหาร หรือวางผลิตผลทางการเกษตร พื้นที่ส่วนหนึ่งมักสร้างเป็นร้านเพื่อตั้งโอ่งน้ำสำหรับดื่มเรียกว่า “ร้านแอ่งน้ำ”
3.1.4 เรือนไฟ หรือเรือนครัวเป็นส่วนที่ประกอบอาหารเป็นตัวเรือนขนาด 2 ช่วงเสาต่ออกมาจากชานแดดด้านข้างทิศท้ายเรือน ฝาเรือนไฟจะนิยมทำเป็นฝา โปร่งเพื่อระบายอากาศเรือนไฟอาจมีชานมนเป็นที่ตั้งโอ่งน้ำสำหรับประกอบอาหารและล้างภาชนะ

แหล่งที่มา
1.จาก “สังคมและวัฒนธรรมอีสาน” เอกสารประกอบนิทรรศการถาวร “อีสานนิทัศน์” 2549 หน้า 125-188

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น