This nice Blogger theme is compatible with various major web browsers. You can put a little personal info or a welcome message of your blog here. Go to "Edit HTML" tab to change this text.
RSS

ปฏิทิน

วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2553

วิถีชีวิต-ความเชื่อ


ผีปู่ตา
ชาวอีสานเชื่อกันว่าผีปู่ตาเป็นวิญญาณของบรรพชนประจำหมู่บ้านและชุมชนจะร่วมกันสร้างศาลตูบปู่ตาจะต้องสร้างบนพื้นที่ที่เป็นเนินสูงโนนโคกหรือดอนซึ่งน้ำท่วมไม่ถึง มีสภาพป่าไม้หนาทึบ ร่มครึ้ม มีสัตว์ป่าชุกชนหลากหลายพันธุ์ เสียงร้องของสัตว์ประสานกับเสียงเสียดสีของต้นไม้ ทำให้เกิดบรรยากาศที่น่าสะพรึงกลัวเพื่อทำให้บริเวณศาลปู่ตา ดอนปู่ตาหรือดงปู่ตาดูขลังและศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้นศาลปู่ตาหรือตูบตาปู่ที่นิยมสร้างมี 2 ลักษณะคือ
1.ใช้เสาหลักเพียงต้นเดียวเหมือนศาลพระภูมิทั่ว ๆ ไปแล้วสร้างเป็นเรือนยกบนปลายเสา
2. ใช้เสาสี่ต้นแล้วสร้างโรงเรือนหรือศาลให้มีขนาดเล็กหรือใหญ่ตามต้องการ โดยทั่วไปจะสร้างให้มีห้องโถงเพียงห้องเดียว ภายในเป็นที่สำหรับวางสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นและวัสดุที่แกะสลักจากไม้หรือรูปปั้นตามความเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ปู่ตาต้องการ เช่น รูปปั้น คน สัตว์บริวาร เป็นต้น ส่วนด้านหน้าตูบหรือศาลมักสร้างให้มีชานยื่นออกมาเพื่อเป็นที่ตั้งวางเครื่องบูชาและเครื่องเซ่นไหว้

พิธีบ๋า (จังหวัดเลยเรียกบะหรือบะบน) การบ๋าเป็นการให้ของตอบแทนแก่ผีปู่ตา กล่าวคือ ถา้ ผีปตู่ าสามารถบันดาลอะไรตามที่ชาวบ้านคนใดคนหนงึ่ หรือทั้งหมู่บา้ นต้องการได้ชาวบ้านจะให้เหล้า ไก่แก่ ผีเจ้าปู่ เป็นต้น

เฒ่าจ้ำ เป็นตัวแทนของชุมชนในการติดต่อสื่อสารกับผีปู่ตาหรือรับบัญชาจากผีปู่ตามาแจ้ง แก่ชุมชนตลอดจนมีหน้าที่ ดูแลบริเวณที่อยู่อาศัยหรือดำเนินกิจการด้านพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับผีปตู่ า เฒ่าจ้ำ อาจเรียกได้หลายชื่อแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น เช่น กระจ้ำ ขะจ้ำ เฒ่าประจำเจ้า-จ้ำ หรือ จ้ำ เป็นต้นาลปู่ตาหรือชาวอีสานเรียกว่าตูบตาปู่ ขึ้นประจำทุกหมู่บ้านผีปู่ตาจะคอยคุ้มครองสมาชิก

แหล่งที่มา
1.จาก “สังคมและวัฒนธรรมอีสาน” เอกสารประกอบนิทรรศการถาวร “อีสานนิทัศน์” 2549 หน้า 125-188

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น