This nice Blogger theme is compatible with various major web browsers. You can put a little personal info or a welcome message of your blog here. Go to "Edit HTML" tab to change this text.
RSS

ปฏิทิน

วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2553

ปัจจัยในการดำรงชีพ (ที่อยู่อาศัย)


ที่พักอาศัยของชาวอีสาน
รูปแบบที่พักอาศัยของชาวอีสานเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมที่เกิดจากการสั่งสมและถ่ายทอดรูปแบบการก่อสร้างที่พักอาศัยให้เหมาะสมกับสภาทางภูมิศาสตร์และการใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน จนเกิดเป็นแบบแผนและมีคติยึดถือจนกลายเป็นความเชื่อ จารีต ประเพณี ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในชีวิต ถ้าหากจะจำแนกประเภทของที่พักอาศัยของคนชาวอีสาน โดยใช้เกณฑ์อายุการใช้งาน (ช่วั คราว กึ่งถาวรและถาวร) ซงึ่ แต่ละประเภทจะมีลักษณะและการใช้วัสดุที่
แตกต่างกันเป็นเครื่องบ่งชี้อายุการใช้งาน อาจจำแนกได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. ที่พักอาศัยประเภทชั่วคราว
ที่พักอาศัยประเภทนี้จะใช้เฉพาะบางฤดูกาล เช่น เถียงนาหรือเถียงไร่ที่พักอาศัยประเภทนี้จะยกพื้น สูงเสาทำจากไม้จริง หรือ ไม้ไผ่ โครงไม้ไผ่ หลังคามุงหญ้า พื้นไม้ ไผ่สับฟากฝาเปิดโล่ง


2. ที่พักอาศัยประเภทกึ่งถาวร
ที่พักอาศัยประเภทกึ่งถาวรอาจจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
2.1 เรือนเหย้า (เรือน ภาษาอีสาน หมายถึง บ้าน) หรือ เหย้า เป็นเรือนขนาด 2 ห้องเสาสำหรับคู่สามี-ภรรยาที่แยกเรือนออกจากครอบครัวพ่อแม่ เนื่องจากธรรมเนียมไม่นิยมอยู่ร่วมกันหลายครอบครัวในเรือนหลังเดียวกัน เรือนเหย้ามักสร้างอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับเรือนของพ่อแม่เพื่อใช้เป็นที่อยู่ระหว่างที่กำลังสร้างฐานะ ส่วนประกอบของเรือนมีเพียง 2 ห้อง คือห้องนอนและห้องเอนกประสงค์
2.2 ตูบต่อเล้า เป็นการสร้างเกยหรือเทิน (เพิง) ต่อออกมาจากเล้าข้าว (ยุ้งข้าว) มีขนาดตามความยาวของเล้าข้าวประมาณ 2-3 ช่วงเสา วัสดุที่ใช้เป็นวัสดุประเภทเดียวกับใช้สร้างเรือนเหย้า ตูบต่อเล้าเป็นที่อยู่อาศัยชั่วระยะเวลาหนึ่งของสามีภรรยาที่เพิ่งออกเรือน แต่ยังไม่พร้อมที่จะสร้างเรือนเหย้าหรือว่าเรือนใหญ่ได้ เมื่อสามารถสร้างเรือนเหย้าหรือเรือนใหญ่ได้ตูบต่อเล้าก็จะกลายเป็นสถานที่เก็บวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการเกษตร หรือเป็นที่นั่งเล่นพักผ่อนต่อไป


แหล่งที่มา
1.จาก “สังคมและวัฒนธรรมอีสาน” เอกสารประกอบนิทรรศการถาวร “อีสานนิทัศน์” 2549 หน้า 125-188

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น