This nice Blogger theme is compatible with various major web browsers. You can put a little personal info or a welcome message of your blog here. Go to "Edit HTML" tab to change this text.
RSS

ปฏิทิน

วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2553

วิถีชีวิต-ความเชื่อ


พญานาค
ตามตำนานอุรังคธาตุ กล่าวถึงพญานาคสองตัวอาศัยอยู่ที่หนองแส ประเทศจีนเกิดผิดใจกันเรื่องแบ่งปันอาหารทำให้สู้รับกันเพื่อครองความเป็นใหญ่อยู่ถึงเจ็ดปีสร้างความเดือดร้อนไปทั่วทั้งมนุษย์ สัตว์และเทวดา
เมื่อพระอินทร์ทราบเรื่องจึงตรัสให้หยุดรบกัน และมีเทวราชโองการว่าให้นาคทั้งสองสร้างแม่น้ำออกจากหนองแสกันคนละสาย พญาสุทโทธนาคขุดดินเป็นคลองลึกผ่านเทือกเขาบ้างอ้อมโค้งภูเขาบ้าง จนถึงตอนใต้จังหวัดหนองคายเกิดหลงทิศจึงย้อนขึ้นไปทางเหนือ และวกกลับเกิดเป็นบึงขนาดใหญ่ขึ้นเรียกว่า “บึงโขงหลง” หรือบึงของหลงปัจจุบัน คือท้องที่อำเภอบึงโขงหลงจังหวัดหนองคาย โขงน่าจะมาจากคำว่าโค้ง นอกจากนี้ยังได้เรียก สหาย คือ พญาชีวายนาคและพญาธนมูลนาคมาช่วยขุดคลองที่พญาชีวายนาคขุดได้ กลายเป็นแม่น้ำชีในเวลาต่อมา ส่วนคลองที่พญาธนมูลนาคมาช่วยขุดกลายเป็นแม่น้ำมูล แม่น้ำ 3 สายที่เป็นแม่น้ำสายหลักของชาวอีสานและเชื่อกันว่า แม่น้ำทั้งสามสายยังคงเป็นที่อยู่ของพญานาคและการเกิดบั้งไฟพญานาคด้วย เมื่อสร้างแม่น้ำโขงเสร็จแล้วพญาสุทโธนาคจึงไปเฝ้าพระอินทร์ ณ ดาวดึงส์ทูลขอพระอินทร์ว่าตัวข้าเป็นเชื้อชาติพญานาคถ้าจะให้อยู่ในโลกมนุษย์นานก็ไม่ได้ ขอขึ้นลงระหว่างบาดาลและโลกมนุษย์ 3 แห่ง และทูลถามถึงพื้นที่ที่แน่นอนว่าจะให้ครอบครอง ณ ที่ใด พระอินทร์จึงกำหนดให้มีรูป
พญานาค 3 แห่ง คือ ที่ธาตุหลวง นครเวียงจันทร์ ที่หนองคันแท และที่พรหมประกายโลก (คำชะโนด)

พญานาค การสร้างเมืองชาวเมืองหนองคายและชาวเวียงจันทร์ยังมีความเชื่อกันว่าเวียงจันทร์ยังมีความเชื่อกันว่าเวียงจันทร์และเวียงคำ (ตำบลเวียงคุกจังหวัดหนองคาย) นั้น พญานาคเป็นผู้สร้างในตำนานว่าท้าวจันอ้วยส่วย (พุงป่อง) พ่อค้าจากเมืองศรีโคตรบูรณ์ขึ้นมาค้าขายที่นี้นอกจากนี้คนอีสานยังเชื่อว่าพญานาคเป็นสัญลักษณ์ทางน้ำและสัญญลักษณ์แห่งพลังซึ่งคุ้มครองป้องกันอันตรายได้

แหล่งที่มา
1.จาก “สังคมและวัฒนธรรมอีสาน” เอกสารประกอบนิทรรศการถาวร “อีสานนิทัศน์” 2549 หน้า 125-188

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น