This nice Blogger theme is compatible with various major web browsers. You can put a little personal info or a welcome message of your blog here. Go to "Edit HTML" tab to change this text.
RSS

ปฏิทิน

วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2553

วิถีชีวิตที่เกี่ยวกับการดำรงชีวิต (อาชีพ)


อาชีพ
ดินในภาคอีสานส่วนใหญ่เป็นดินปนหินทรายและดินแดง ซึ่งเก็บความชุ่มชื้นได้น้อย มีความอุดมสมบูรณ์ทางด้านอาหารพืชต่ำและบางแห่งมีเกลือปนอยู่ นอกจากนี้อีสานยังประสบภาวะแห้งแล้งอยู่เสมอ เนื่องจากมีปริมาณฝนตกน้อย ดังนั้นอาชีพหลักของชาวอีสานจึงขึ้นน้อยสภาพภูมิประเทศ ทรัพยากร ดิน น้ำและแร่ธาตุ อาชีหลักแต่ดั้งเดิมของชาวอีสานแบ่งได้เป็น 2 อาชีพ คือ อาชีพเกษตรกรรม เช่น การทำนาข้าว การทำไร่มันสำปะหลัง การทำเกลือสินเธาว์และอาชีพการทำประมงน้ำจืด

การเกษตรกรรม
พืชที่ปลูกมากในภาคอีสาน ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ปอแก้ว การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเป็นต้น


ข้าว
ประชาชนในภาคอีสานยืดการทำนาเป็นอาชีพหลักข้าวที่ปลูกมีทั้งข้าวเจ้า ข้าวเหนียวปลูกกระจายอยู่ทั่วไปทุกจังหวัด ปริมาณข้าวที่ได้จะแตกต่างกันไปตามปริมาณน้ำฝนในแต่ละปีจังหวัดที่มีการทำนาได้ดี ได้แก่จังหวัดที่อยู่ริมแม่น้ำโขง และถึงแม้ในบางจังหวัดจะมีปริมาณฝนต่ำกว่า1,750 มิลลิเมตรแต่ก็ยังสามารถปลูกข้าวได้ผลดีเช่นกัน ทั้งนี้อาจเพราะมีพันธุ์ข้าวมากกว่า2,500 ชนิด มีการปรับปรุงคัดเลือกเพื่อให้ได้พันธุ์ข้าวใหม่ ๆ ที่เหมาะสมกับสภาพของแต่ละท้องที่ปริมาณข้าว ที่ได้นอกจากจะเก็บไว้กินแล้วยังมีผลผลิตเหลือส่งไปขายต่างประเทศอีกด้วย พันธุ์ข้าวที่มีชื่อเสียงของภูมิภาคนี้คือ ข้าวหอมมะลิ
ลักษณะการทำนาแบ่งตามภูมิประเทศ
1. การทำนาโคกหรือนาเขิน หมายถึง นาที่ตั้งอยู่ในที่ดอนหรือที่โคกไม่สามารถนำน้ำจากการชลประทานหรือเหมืองฝายไปใช้ได้ ต้องอาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดียว ส่วนใหญ่ปลูกข้าวไร่
2. การทำนาลุ่ม หมายถึง นาในที่ลุ่ม สามารถนำน้ำจากเหมืองฝายหรือชลประทานมาใช้ได้ นิยมปลูกข้าว นาดำหรือนาหว่านน้ำตม
3. การทำนาหนอง คือนาที่ตั้งอยู่ในหนองน้ำหรือที่ลุ่มลึกหรือที่เคยเป็นหนองน้ำแต่ตื้นเขินแล้วพื้นที่ลักษณะนี้นิยมปลูกข้าวนาหว่าน หรือนาหว่านน้ำตม


แหล่งที่มา
1.จาก “สังคมและวัฒนธรรมอีสาน” เอกสารประกอบนิทรรศการถาวร “อีสานนิทัศน์” 2549 หน้า 125-188

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น