This nice Blogger theme is compatible with various major web browsers. You can put a little personal info or a welcome message of your blog here. Go to "Edit HTML" tab to change this text.
RSS

ปฏิทิน

วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2553

ดนตรีและการแสดง


ดนตรีและการแสดงของชาวอีสานเกี่ยวข้องกับกิจกรมที่เป็นพิธีกรรม การละเล่นและกิจกรรมนันทนาการ ดนตรีและการแสดงของชาวอีสานยังสะท้อนถึง โลกทัศน์ การดำเนินชีวิตและการปรับตัวกับสภาพแวดล้อม
ดนตรีและการแสดงของชาวอีสาน มีลักษณะตามท้องถิ่นและการผสมผสานกับวัฒนธรรมที่อยู่ใกล้เคียง เช่นชุมชนอีสานตอนบนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับวัฒนธรรมกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขง ส่วนชุมชนอีสานทางตอนล่างมีความใกล้ชิดและผสมผสานกับวัฒนธรรมเขมร


หมอลำ
ความเป็นมาของหมอลำ

หมอลำในภาคอีสานมีความหมายถึงผู้เชี่ยวชาญในการขับร้องรวมถึงการแต่งกลอนและการแสดงออกทางนาฎศิลป์ “หมอ” ในภาษาอีสานหมายถึง ผู้เชี่ยวชาญในทางใด ทางหนึ่ง ส่วน“ลำ” เป็นลักษณะนามเข้าใจว่ามาจากลำไม้ไผ่ ซึ่งบรรจุจารึกบทกลอน หนังสือผูกในสมัยโบราณ

หมอลำพิธีกรรม หมอลำนอกจากจะเป็นศิลปะการขับร้องและแสดงเพื่อความบันเทิงแล้ว ยังนำไปใช้ในการประกอบพิธีกรรมโดยมีจุดหมาย เพื่อติดต่อกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ผีแถนหรือผีฟ้าเพื่อลงมาเยียวยารักษาไข้ ซึ่งพบได้ทั่วไปในเขตภาคอีสาน โดยจะมีชื่อเรียกต่างกันออกไป เช่นหมอลำผีฟ้า หมอเหยา
หมอลำกลอน หมอลำกลอนเป็นการแสดงที่เป็นความบันเทิง ใช้เป็นมหรสพในงานบุญมงคลและอวมงคล ผู้ลำ หรือหมอลำ ต้องเป็นผู้ที่ท่องจำกลอนลำไว้เป็นจำนวนมาก และจะเลือกสรรนำกลอน ลำบทใดมา ลำก่อนหลังก็ได้ แต่ต้องใช้ปฏิภาณประยุกต์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการโต้ตอบกับคู่ลำและสามารถดึงดูดและกระตุ้นความสนใจของผู้ฟังให้ติดตามได้ตลอดเวลาการแสดงลำกลอนมีชนิดการแสดงอยู่หลายลักษณะ เช่น
-ลำเกี้ยว: หมอลำคู่ชาย หนึ่งหญิงหนึ่ง
-ลำโจทย์แก้: จะใช้ชายคู่ หญิงคู่หรือชาย หญิงก็ได้
-ลำสามเกลอ: จะใช้หมอลำชายสามคนร่วมกัน

-ลำเชิงชู้: จะใช้หมอลำชายสองหญิงหนึ่งหานักดนตรีหรือเครื่องดนตรี ประกอบจะใช้เพียงซอเป็นเครื่องบรรเลงแทนปี่และใช้โนตีกำกับจังหวะ

แหล่งที่มา
1.จาก “สังคมและวัฒนธรรมอีสาน” เอกสารประกอบนิทรรศการถาวร “อีสานนิทัศน์” 2549 หน้า 125-188

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น