This nice Blogger theme is compatible with various major web browsers. You can put a little personal info or a welcome message of your blog here. Go to "Edit HTML" tab to change this text.
RSS

ปฏิทิน

วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2553

วิถีชีวิตที่เกี่ยวกับการดำรงชีวิต (อาชีพ)


มันสำปะหลัง
เมื่อประมาณ 12-14 ปีทีผ่านมามันสำปะหลังเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ทำรายได้เสริมให้แก่เกษตรกรในภาคอีสานและสามารถนำรายได้เข้าสู่ประเทศเป็นอันดับสองรองจากข้าว มันสำปะหลังเป็นพืชที่ชอบอากาศร้อนจึงปลูกได้ดีในระหว่างละติจูด 25 องศาเหนือและ 25 องศาใต้ ในพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 3,000 ฟุตเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทรายทนความแห้งแล้งได้ดีกว่าพืชที่ให้แป้งชนิดอื่น ๆ ต้องการน้ำเพื่อตั้งตัวหลังการปลูกเท่านั้น จึงเหมาะกับภาคอีสาน ซึ่งมีปริมาณและการกระจายของฝนไม่แน่นอน ปัจจุบันเกษตรกรนิยมที่จะปลูกมันสำปะหลังกันมาก เพราะมีต้นทุนในการผลิตต่ำ ปลูกง่ายและไม่ต้องการการดูแลมากนัก ส่งผลผลิตเข้าโรงงานได้ง่ายและเก็บเกี่ยวได้ตลอดทุกฤดูกาล

เกลือสินเธาว์
คนอีสานนิยมใช้เกลือสินเธาว์ทำปลาเค็ม ปลาร้า ปลาเจ่า เพราะทำให้ปลาไม่เน่าเร็ว กลิ่นไม่เหม็นเหมือนใช้เกลือทะเล รสไม่เค็มมาก ราคาก็ถูกกว่า ฉะนั้นในแหล่งที่มีดินเกลือหรือน้ำเค็มชาวบ้านจึงทำนาเกลือกันเป็นล่ำเป็นสัน บางแห่งมีการให้เช่าพื้นที่ทำนาเกลือ คิดค่าเช่าเป็นไร่ต่อเดือน โดยเริ่มทำตั้งแต่เดือนพฤษภาคมไปจนถึงเดือนพฤศจิกายน การทำเกลือสินเธาว์นี้มีมา

การทำเกลือสินเธาว์
แหล่งเกลือหรือที่เรียกว่า เนินเกลือหรือโป่งเกลือจะสังเกตเห็นได้ง่ายคือ จะขึ้นเป็นขุยขาวๆ ชาวบ้านจะใช้ไม้ขุดรวมเป็นกอง ๆ ไว้เมื่อได้ดินปนเกลือมาแล้ว ก็จะนำมาใส่รางไม้ลักษณะคล้ายลำเรือที่ขุดเตรียมไว้กว้างยาวตาม แต่ขนาดไม้โดยเจาะรูไว้กลางลำ 1-4 รู ใช้ตอกหรือซังข้าวมัดเป็นวงกลมครอบรูไว้ เสร็จแล้วใช้กะลามะพร้าวหรือทำแผ่นไม้เป็นวงกลมครอบทับอีกทีหนึ่ง แล้วเอาแกลบข้าวใหม่ ๆ โรยให้ทั่วท้องรางไม้อีกชั้นหนึ่ง เสร็จแล้วเอาดินเกลือที่ขนมานั้นใส่บนแกลบเหยียบให้แน่นเหลือระดับดินไว้ประมาณ 1 คืบ แล้วจึงเอาน้ำจากบ่อน้ำเค็มที่ขุดเตรียมไว้ใส่บนดินเกลืออีกครั้ง รูที่ใต้ไม้ท้องรางนั้นใช้ไม้ไผ่ยาวประมาณ 1 คืบ จุกเข้าไว้โดยใช้ผงยาวไม้บงกรุไว้พอให้น้ำเกลือไหลผ่านลักษณะจะคล้ายกระดาษกรอง ให้น้ำเกลือไหลลงภาชนะรองรับ เมื่อได้เพียงพอแล้วก็นำเอาน้ำเกลือนั้นไปต้ม
การต้มเกลือ
ใช้สังกะสีตัดทำเป็นกะทะหรือถาดบันกรีเรียบร้อย สำหรับต้มเตาต้มบางแห่งใช้อิฐก่อเป็นเตาหรืออาจจะขุดหลุมเป็นเตาแล้วใช้เหล็กพาดไว้ 3-4 อัน เพื่อรับน้ำหนักเตานี้อาจขุดลึกลงไปในชั้นดินหรือก่อพูนขึ้นเป็นรูปเตาก็ได้มีความกว้างประมาณ ½ เมตร ยาวประมาณ 1 เมตรให้พอดีกับถาดสังกะสีก่อไฟข้างใต้เตาแล้วเอาน้ำเกลือที่กรองมาได้ใส่ลงไปใหเ้ต็มถาด สังกะสีนั้นต้มไปจนน้ำเหลืองวดเป็นเม็ดเกลือใช้เวลาต้มประมาณ 1-2 ชั่วโมง วันหนึ่ง ๆ จะต้มได้ประมาณ 4-6 ถาดสังกะสี ถาดหนึ่งจะได้เกลือประมาณ 3-20 กิโลกรัมขึ้นอยู่กับขนาดของถาดที่ต้ม


แหล่งที่มา
1.จาก “สังคมและวัฒนธรรมอีสาน” เอกสารประกอบนิทรรศการถาวร “อีสานนิทัศน์” 2549 หน้า 125-188

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น