This nice Blogger theme is compatible with various major web browsers. You can put a little personal info or a welcome message of your blog here. Go to "Edit HTML" tab to change this text.
RSS

ปฏิทิน

วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553

E-commerce


ข้อดีของการใช้ E - Commerce
-การซื้อขายสินค้าแบบ Online สามารถตัดปัญหายุ่งยากในเรื่องของการต่อรองราคาและตัดปัญหาเกี่ยวกับนายหน้า เพราะมีเพียงแค่รหัสบัตรเครดิตที่เปิดบัญชีกับธนาคาร ท่านก็สามารถซื้อสินค้าผ่าน Internet ได้

-ข้อมูลของลูกค้าจะถูกเก็บไว้ใน E-Mailบุคคลอื่นไม่สามารถเปิดอ่านได้นอกจากผู้จัดจำหน่ายเท่านั้น

-เพิ่มมูลค่าและปริมาณทางการค้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางธุรกิจ ลดต้นทุน และเปิดโอกาสให้ผู้ขายขนาดกลางและขนาดเล็ก มีโอกาสเข้าสู่ตลาดได้มากขึ้นขณะเดียวกันผู้บริโภคก็มีทางเลือกมากขึ้นด้วย

-ผู้ซื้อสามารถค้นหาข้อมูลหรือข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าและบริการต่างๆทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปถึงร้านค้า หรือผ่านพ่อค้าคนกลาง

-ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการกับผู้ซื้อรายอื่น หรือมีโอกาสสัมผัสกับสินค้าหรือบริการก่อนการตัดสินใจซื้อ เช่น ฟังตัวอย่างเพลง อ่านเรื่องย่อของหนังสือ หรือชมบางส่วนของVDO ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ ทำให้ผู้ซื้อมีข้อมูลในการตัดสินใจเพิ่มมากขึ้น ในกรณีที่เป็นการสั่งซื้อแบบDigital Form จะสามารถส่งข้อมูลผ่าน Internet ได้ทันที

-ผู้ขายสามารถโฆษณาขายสินค้าหรือบริการไปยังลูกค้าทั่วโลกได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการโฆษณา การจัดตั้งร้านค้า การจัดตกแต่งสถานที่ ค่าใช้จ่ายการจัดเก็บสินค้าการกระจายสินค้า และยังสามารถลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอื่นๆได้อีกด้วย


ข้อจำกัดในการใช้ E-Commerce
-ความไม่ปลอดภัยของข้อมูล ขาดการตรวจสอบการใช้บัตรเครดิตบน Internet ข้อมูลบนบัตรเครดิตอาจถูกดักฟังหรืออ่าน เพื่อเอาชื่อและหมายเลขบัตรเครดิตไปใช้โดยที่เจ้าของบัตรเครดิตไม่รู้ได้การส่งข้อมูลจึงต้องมรการพัฒนาวิธีการเข้ารหัสที่ซับซ้อนหลายขั้นตอนเพื่อให้ข้อมูลของลูกค้าได้รับความปลอดภัยสูงสุด

-ประเทศไทยยังไม่มีธนาคารพาณิชย์ที่จะทำหน้าที่รับประกันความเสี่ยงสำหรับการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ในปัจจุบันการชำระเงินยังต้องผ่านธนาคารที่เป็นของต่างประเทศ

-ปัญหาความยากจน ความด้อยโอกาสและขาดความรู้ทางเทคโนโลยี รวมทั้งขาดเครือข่ายการสื่อสาร เช่น ระบบเคเบิล ระบบโทรศัพท์ที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ไม่สามารถให้บริการได้อย่างทั่วถึงจึงทำให้ชนบทที่ห่างไกลไม่สามารถเข้าถึงและใช้บริการ Internet ได้

-E-Commerce ยังมีประเด็นเชิงนโยบายที่ทำให้รัฐบาลต้องเข้ามากำหนดมาตรการ เพื่อให้ความคุ้มครองกับผู้ซื้อและผู้ขาย ขณะเดียวกันมาตรการมนเรื่องระเบียบที่จะกำหนดขึ้นต้องไม่ขัดขวางการพัฒนาเทคโนโลยี

-ผู้ซื้อไม่มั่นใจเรื่องการเก็บรักษาความลับทางธุรกิจ ข้อมูลส่วนบุคคลเช่นไม่มั่นใจว่าจะมีผู้นำหมายเลขบัตรเครดิตไปใช้ประโยชน์ในทางที่มิชอบหรือไม่

-ผู้ขายไม่มั่นใจว่าลูกค้ามีตัวตนอยู่จริง จะเป็นบุคคลเดี่ยวกับที่แจ้งสั่งซื้อสินค้าหรือไม่ มีความสามารถ ในการที่จะจ่ายสินค้าและบริการหรือไม่ และไม่มั่นใจว่าการทำสัญญาซื้อขายผ่านระบบ Internet จะมีผลถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่

-ด้านรัฐบาล ในกรณีที่ผู้ซื้อและผู้ขายอยู่คนละประเทศกันจะใช้กฎหมายของประเทศใดเป็นหลักหากมีการกระทำผิดกฎหมายในการการกระทำการซื้อขายลักษณะนี้ ความยากลำบากในการติดตามการซื้อขายทาง Internet อาจทำให้รัฐบาลประสบปัญหาในการเรียกเก็บภาษี เงินได้และภาษีศุลกากร การที่ E-Commerce ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจ พฤติกรรมของผู้บริโภค และการปฏิบัติงานของภาครัฐบาล ทำให้รัฐบาลอาจเข้ามากำหนดมาตรการเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคและผู้ขายที่ใช้บริการ E-Commerce รวมทั้งให้ความสนใจในการพัฒนาบุคลากร การพัฒนาปัจจัยที่จะเพิ่มความสะดวกทางด้านโทรคมนาคมสื่อสาร

-ข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์สามารถทำสำเนาหรือดัดแปลงหรือสร้างขึ้นใหม่ได้ง่ายกว่าเอกสารที่เป็นกระดาษ จึงต้องจัดการระบบการรักษาความปลอดภัยในการอ้างสิทธิให้ดีพอ

-E-Commerce ไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับการจัดการทางธุรกิจที่ดีด้วยการนำระบบนี้มาใช้จึงไม่สมควรทำตามกระแสนิยม เพราะถ้าลงทุนไปแล้วไม่สามารถให้บริการที่ดีกับลูกค้าได้ ย่อมเกิดผลเสียต่อบริษัท

-ปัญหาที่เกิดกับงานด้านกฎหมายและลายเซ็นประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเฉพาะที่จะกำกับดูแลการทำนิติกรรม การทำการซื้อขายผ่านทางการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์


ประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce)
ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นช่องทางการค้าที่น่าสนใจมาก เพราะนับวันก็ยิ่งมีผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆซึ่งส่งผลให้การค้าทางอินเตอร์เน็ตขยายตัวได้อย่าง รวดเร็วและการทำธุรกิจบนเว็บไซต์นั้นสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้มากมายหลายประการ ได้แก่

1. ทำการค้าได้ตลอด 24 ชั่งโมง และขายสินค้าได้ทั่วโลก นักท่องอินเตอร์เน็ตจากทั่วทุกมุมโลกสามารถเข้ามาในเว็บไซต์ของบริษัทได้ตลอดเวลาผู้ขายสามารถนำเสนอสินค้า ผลิตภัณฑ์ และบริการต่างๆได้อย่างรวดเร็ว โดยคำสั่งซื้ออาจเกิดขึ้นตลอด 24 ชั่วโมงและมาจากที่ต่างๆกัน

2. ข้อมูลทันสมัยอยู่เสมอ และประหยัดค่าใช้จ่าย พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ นั้นมีประโยชน์ที่สำคัญมากอีกประการหนึ่ง คือสามารถ เสนอข้อมูลที่ใหม่ล่าสุดให้กับลูกค้าได้ทันทีซึ่งช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดพิมพ์เอกสาร และประหยัดเวลาในการประชาสัมพันธ์

3. ทำงานแทนพนักงานขาย และเพิ่มประสิทธิภาพการขาย พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์นั้นสามารถทำงานแทนพนักงานขายของคุณได้ โดยสามารถทำการค้าในรูปแบบอัตโนมัติ และดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการทางธุรกิจภายในองค์กรนั้นๆ

4. แทนหน้าร้าน หรือบูทแสดงสินค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถแสดงสินค้าที่มีอยู่ให้กับลูกค้าทั่วโลกได้มองเห็นสินค้าของคุณ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายตกแต่งหน้าร้าน หรือในการเดินทางออกไปในบูทแสดงสินค้าในที่ต่างๆ

5. เทคโนโลยีช่วยส่งเสริมผลิตภัณฑ์ให้น่าสนใจยิ่งขึ้น ปัจจุบันมีเทคโนโลยีใหม่ๆมาช่วยในการทำให้ผลิตภัณฑ์มีความน่าสนใจยิ่งขึ้น เช่น การแสดงสินค้าโดยผู้ชมสามารถดูสินค้าได้ 180 องศาหรือลูกค้าสามารถอ่านหัวข้อของหนังสือที่ต้องการซื้อก่อนได้

6. ง่ายต่อการชำระเงิน พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถชำระเงินได้อย่างสะดวกสบายโดยวิธีการตัดผ่านบัตรเครดิตหรือการโอนเงินเข้าบัญชีซึ่งจะเป็นระบบอัตโนมัติ

7. เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ ในโลกพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์บริษัทขนาดเล็กสามารถมีโอกาสทางธุรกิจเทียบได้กับบริษัทขนาดใหญ่ซึ่งขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายๆอย่าง เป็นต้นว่า ชื่อ URL ของบริษัทควรจะจำง่าย การออกแบบเว็บไซต์ให้สวยงามและปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ การสั่งซื้อและการชำระเงินมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี เป็นต้น

8. สร้างความประทับใจและพึงพอใจได้มากกว่าปัจจุบันการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางอินเตอร์เน็ตทำได้อย่างง่ายดาย สินค้าและบริการมีให้เลือกมากมายทำให้ไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทาง และเสียเวลาไปกับการค้นหาสินค้าและบริการที่ต้องการ ลูกค้าสามารถค้นหาสินค้าที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วที่สุด เช่นถ้าลูกค้าต้องการซื้อของตกแต่งบ้านจากเว็บไซต์ Bangpa-in.com ลูกค้าสามารถจะค้นหาสินค้าจากประเภทของสินค้า หรือค้นหาตามรูปแบบที่ต้องการได้ ในกรณีที่ลูกค้าสั่งสินค้าและได้ให้รายละเอียดส่วนตัวไว้ ร้านค้าสามารถ บันทึก รายละเอียดของลูกค้าไว้ในฐานข้อมูลของเราเพื่อความสะดวกของลูกค้าในการสั่งซื้อสินค้าครั้งต่อไป (Member System)

9. รู้และแก้ปัญหาต่างๆได้ทันท่วงที พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถให้บริการหลังการขายได้เช่นกันโดยใช้ประโยชน์จากอีเมล์ในการติดต่อลูกค้า การสร้างแบบสอบถามลูกค้าเพื่อสอบถามความพึงพอใจต่อสินค้าและบริการทำให้ร้านค้าสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาแก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้นและทันท่วงที
แหล่งที่มา

E-commerce


ประเภทของอีคอมเมิร์ซ

มีการแบ่งประเภทอีคอมเมิร์ซกันหลายแบบ เช่น แบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 5 ประเภท แบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 3 ประเภท แบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 6 ส่วน และแบ่ง อีคอมเมิร์ซตามประเภทสินค้าเป็น 2 ประเภท เป็นต้นอีคอมเมิร์ซ 5 ประเภท ถ้าจะแบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 5 ประเภทก็ได้ดังต่อไปนี้
(1) ธุรกิจกับผู้ซื้อปลีกหรือบีทูซี (B-to-C = Business-to-Consumer) คือประเภทที่ผู้ซื้อปลีกใช้อินเตอร์เน็ตในการซื้อสินค้าจากธุรกิจที่โฆษณาอยู่ในอินเตอร์เน็ต
(2) ธุรกิจกับธุรกิจหรือบีทูบี (B-to-B = Business-to-Business) คือ ประเภท ที่ธุรกิจกับธุรกิจติดต่อซื้อขายสินค้ากันผ่านอินเตอร์เน็ต
(3) ธุรกิจกับรัฐบาลหรือบีทูจี (B-to-G = Business-to-Government) คือประเภทที่ธุรกิจติดต่อกับหน่วยราชการ
(4) รัฐบาลกับรัฐบาลหรือจีทูจี (G-to-G = Government to Government) คือ ประเภทที่หน่วยงานรัฐบาลหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งติดต่อกับหน่วยงานรัฐบาลอีกหน่วยงานหนึ่ง
(5) ผู้บริโภคกับผู้บริโภคหรือซีทูซี (C-to-C = Consumer-to-Consumer)คือ ประเภทที่ผู้บริโภคประกาศขายสินค้าแล้วผู้บริโภคอีกรายหนึ่งก็ซื้อไป เช่น ที่อีเบย์ดอทคอม (Ebay.com) เป็นต้น ซึ่งผู้บริโภคสามารถจ่ายเงินให้กันทางบัตรเครดิตได้ อีคอมเมิร์ซ 3 ประเภท ถ้าจะแบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 3 ประเภทก็อาจจะแบ่งได้ ดังต่อไปนี้
(1) อีคอมเมิร์ซระหว่างผู้บริโภคกับธุรกิจ หรือ บีทูซี (B-to-C = Business-to-Consumer) ซึ่งอาจจะมีตัวอย่างดังต่อไปนี้
- การติดต่อสื่อสารระหว่างผู้บริโภคกับธุรกิจโดยใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ วิดีโอคอนเฟอเร็นซ์ กลุ่มสนทนา กระดานข่าว เป็นต้น
- การจัดการด้านการเงิน ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถจัดการเรื่องการเงินส่วนตัว เช่น ฝาก-ถอน เงินกับธนาคารซื้อขายหุ้นกับผู้ค้าหุ้น เช่น อีเทรด (www.etrade.com) เป็นต้น
- ซื้อขายสินค้าและข้อมูล ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถซื้อขายสินค้าและข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตได้โดยสะดวก
(2) อีคอมเมิร์ซภายในองค์กรหรือแบบอินทราออร์ก (Intra-Org E-commerce) คือการใช้อีคอมเมิร์ซในการช่วยให้บริษัทหรือองค์ใดองค์กรหนึ่งสามารถปรับปรุงการทำงานภายในและให้บริการลูกค้าได้ดีขึ้น ดังตัวอย่างต่อไปนี้
- การติดต่อสื่อสารภายในองค์กรจะสะดวกรวดเร็วจะได้ผลดีขึ้น โดยใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ วีดีโอคอนเฟอเรนซ์ และป้ายประกาศ เป็นต้น
- การจัดพิมพ์เอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ หรืออีพับลิซซิง (Electronic Publishing) ช่วยให้บริษัทสามารถออกแบบเอกสารจัดพิมพ์เอกสาร และแจกจ่ายเอกสารได้สะดวกรวดเร็ว และใช้ค่าใช้จ่ายน้อย ไม่ว่าจะเป็นคู่มือข้อกำหนดสินค้า (Product Specifications) รายงานการประชุม เป็นต้น ทั้งนี้โดยผ่านเว็บ
- การปรับปรุงประสิทธิภาพพนักงานขายการใช้อีคอมเมิร์ซแบบนี้ช่วยปรับปรุงการสื่อสารระหว่างฝ่ายผลิตกับฝ่ายขาย และระหว่างฝ่ายขายกับลูกค้า ทำให้ได้ประสิทธิภาพดีขึ้น
(3) อีคอมเมิร์ซระหว่างองค์กรหรือแบบอินเตอร์ออร์ก (Inter-Org E-commerce)ซึ่งก็คือแบบเดียวกับแบบที่เรียกว่าบีทูบี (Business to Business) ทั้งนี้โดยมีตัวอย่างต่อไปนี้
- การจัดซื้อ ช่วยให้จัดซื้อได้ดีขึ้น ทั้งด้านราคา และระยะเวลาการส่งของ
- การจัดการสินค้าคงคลัง
- การจัดส่งสินค้า
- การจัดการช่องทางขายสินค้า
- การจัดการด้านการเงิน
อีคอมเมิร์ซ 6 ส่วน ถ้าจะแบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 6 ส่วนก็แบ่งได้ดังต่อไปนี้
(1) การขายปลีกทางอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเทลลิ่ง (E-tailing= Electronic Retailing)หรือร้านค้าเสมือนจริง (Virtual Storefront) ยอดขายปลีกอิเล็กทรอนิกส์ในอเมริกาใน ค.ศ. 1999มีมูลค่าเป็นหมื่นล้านบาท
(2) การวิจัยตลาดทางอิเล็กทรอนิกส์หรือมาร์เก็ตอีรีเซิร์ช (Market E-research) คือการใช้อินเตอร์เนตในการวิจัยตลาดแบบเดียวกับที่สำนักวิจัยเอแบค-เคเอสซีอินเตอร์เน็ตทำอยู่ จากการใช้อินเตอร์เน็ตนี้ บริษัทห้างร้านสามารถเก็บข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าปัจจุบัน และผู้ที่อาจจะเป็นลูกค้าในอนาคตทั้งจากการลงทะเบียนเข้าใช้ เว็บ จากแบบสอบถามและจากการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้า การวิจัยตลาดอินเตอร์เน็ตก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของอีคอมเมิร์ซ
(3) อินเตอร์เน็ตอีดีไอ หรือการส่งเอกสารตามมาตรฐานอีดีไอโดยใช้อินเตอร์เน็ต ซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายต่ำลงก็ถือว่าเป็นอีคอมเมิร์ซประเภทหนึ่ง
(4) โทรสารและโทรศัพท์อินเตอร์เน็ต การใช้โทรสารและโทรศัพท์ทางไกลผ่านอินเตอร์เน็ตหรือ วีโอไอพ ี (VoIP= Voice over IP) นั้นมีราคาต่ำกว่าการใช้โทรสารและโทรศัพท์ธรรมดา และอาจจะใช้เป็นส่วนหนึ่งของอีคอมเมิร์ซ
(5) การซื้อขายระหว่างบริษัทกับบริษัท บริษัทต่างๆ จำนวนมากในปัจจุบันติดต่อซื้อขายสินค้ากันโดยผ่านเว็บในอินเตอร์เน็ต ซึ่งก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของอีคอมเมิร์ซ
(6) ระบบความปลอดภัยในอีคอมเมิร์ซถือว่าเป็นส่วนสำคัญของอีคอมเมิร์ซทั้งนี้ในปัจจุบันมีการใช้วิธีต่างๆ เช่น เอสเอสแอล (SSL= Secure Socket Layer) เซ็ต (SET = Secure ElectronicTransaction) อาร์เอสเอ (RSA = Rivets, Shamir and Adelman) ดีอีเอส (DES= Data EncryptionStandard) และดีอีเอสสามชั้น (Triple DES) เป็นต้น
อีคอมเมิร์ซ 2 ประเภท สินค้า ถ้าจะแบ่งอีคอมเมิร์ซตามประเภทสินค้าก็แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
(1) สินค้าดิจิตอล เช่น ซอฟท์แวร์ เพลง วิดีโอ หนังสือ ดิจิตอล เป็นต้นซึ่งสามารถส่งสินค้าได้โดยผ่านอินเตอร์เน็ต
(2) สินค้าที่ไม่ใช่ดิจิตอล เช่น สินค้าหัตถกรรม สินค้าศิลปะชีพ เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม เครื่องหนังเครื่องประดับเครื่องจักรอุปกรณ์ เป็นต้น ซึ่งต้องส่งสินค้าทางพัสดุภัณฑ์ ผ่านไปรษณีย์หรือบริษัทรับส่งพัสดุภัณฑ์

แหล่งที่มา
1.http://images.google.co.th/imgres?imgurl=http://202.28.94.55/web/322161/2551/001/g18/E-commerce%2520web/image/pd1113806484_0.gif&imgrefurl=http://202.28.94.55/web/322161/2551/001/g18/&usg=__Tlp7B8vSiZufPuOd9E4EEnBKU1U=&h=479&w=481&sz=47&hl=th&start=1&sig2=otq1JndvL71IYpBPt9-Hsw&um=1&tbnid=58bOxoRGKPiEvM:&tbnh=128&tbnw=129&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2593%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%258A%25E0%25B8%25A2%25E0%25B9%258C%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25B4%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25A5%25E0%25B9%2587%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25AA%25E0%25B9%258C%26hl%3Dth%26um%3D1&ei=l7NdS56aCc-TkAWW-7GSAw

วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2553

E-commerce



ความเป็นมา

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) หรืออีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) เริ่มขึ้นเมื่อประมาณต้นทศวรรษที่ 1970 โดยเริ่มจากการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงาย และในช่วงเริ่มต้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทใหญ่ๆ เท่านั้น บริษัทเล็กๆ มีจำนวนไม่มากนัก ต่อมาเมื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange-EDI) ได้แพร่หลายขึ้นประกอบกับคอมพิวเตอร์พีซีได้มีการขยายเพิ่มอย่างรวดเร็วพร้อมกับการพัฒนาด้านอินเทอร์เน็ตและเว็บทำให้หน่วยงานและบุคคลต่าง ๆ ได้ใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ในปัจจุบันพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้ครอบคลุมธุรกรรมหลายประเภท เช่น การโฆษณา การซื้อขายสินค้า การซื้อหุ้น การทำงาน การประมูลและการให้บริการลูกค้า



ความหมายของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การทำธุรกรรมทุกรูปแบบโดยครอบคลุมถึงการซื้อขายสินค้า/บริการ การชำระเงิน การโฆษณาโดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะเครือข่ายทางอินเทอร์เน็ต กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การดำเนินธุรกิจทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้าและบริการผ่าน และระบบสื่อสารโทรคมนาคมหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ องค์กรการค้าโลก ให้คำจำกัดความไว้ว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การผลิตการกระจาย การตลาด การขาย หรือการขนส่งผลิตภัณฑ์และบริการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์
E-Commerce คืออะไร

Electronic Commerce หรือ E-Commerce คือ การซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยส่งข้อมูลด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางเครือข่าย เช่น Internet ถ้าผู้ใช้มีเครื่องคอมพิวเตอร์ คู่สายโทรศัพท์ โมเด็ม และเป็นสมาชิกของบริการ Internet ก็สามารถทำการค้าผ่านระบบเครือข่ายได้ E-Commerce เป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยี Internet กับการจำหน่ายสินค้าและบริการ โดยสามารถนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตัวสินค้าหรือบริการผ่านทาง Internet สู่คนทั่วโลกภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว ทำให้การดำเนินการซื้อขายอย่างมีประสิทธิภาพและก่อให้เกิดรายได้ในระยะเวลาอันสั้น

ความสำคัญของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

เนื่องมาจากอัตราการเติบโตของการใช้อินเตอร์เน็ตและการเพิ่มขึ้นของเว็บไซต์ทางธุรกิจที่มีอย่างต่อเนื่อง ทำให้การประกอบธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจบนอินเตอร์เน็ตเป็นช่องทางการตลาดขนาดใหญ่ของโลกไร้พรมแดนที่สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายได้โดยตรงอย่างรวดเร็ว ไร้ขีดจำกัดของเรื่องเวลาและสถานที่ การแข่งขันทางการค้าเสรีและระหว่างประเทศที่ต้องแข่งขันและชิงความได้เปรียบกันที่“ความเร็ว”ทั้งการนำเสนอสินค้าผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์มีความสำคัญอย่างยิ่งในสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการประกอบธุรกิจในปัจจุบันและได้รับความนิยมเพิ่มการแข่งขันเป็นลำดับ

กรอบแนวคิดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

กรอบแนวคิดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วย 4 ส่วนใหญ่ ๆ คือ • แอพพลิเคชั่นของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • ปัจจัยทางการบริหาร • โครงสร้างพื้นฐาน• ประเภทสินค้าของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าที่ซื้อขายในพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จำแนกได้ดังนี้ - สินค้าที่มีลักษณะเป็นข้อมูลดิจิทัล (Digital Products) - สินค้าที่ไม่ใช่ข้อมูลดิจิทัล (Non-Digital Products)

แหล่งที่มา

1.http://images.google.co.th/imgres?imgurl=http://202.28.94.55/web/322161/2551/001/g18/E-commerce2520web/image/pd1113806484_0.gif&imgrefurl=http://202.28.94.55/web/322161/2551/001/g18/&usg=__Tlp7B8vSiZufPuOd9E4EEnBKU1U=&h=479&w=481&sz=47&hl=th&start=1&sig2=6LrLe3UytRmINO3VgEOWrA&um=1&tbnid=58bOxoRGKPiEvM:&tbnh=128&tbnw=129&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2593%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%258A%25E0%25B8%25A2%25E0%25B9%258C%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25B4%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25A5%25E0%25B9%2587%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25AA%25E0%25B9%258C%26hl%3Dth%26rlz%3D1W1ADBF_en%26sa%3DN%26um%3D1&ei=-0JdS7vKBYr66QOYp6wD

วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2553

วันครูแห่งชาติ


การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลา ในปัจจุบันได้จัดรูปแบบการจัดงานวันครูจะมีกิจกรรม 3 ประเภทใหญ่ดังนี้
1.กิจกรรมทางศาสนา
2.พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตน การกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์
3.กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู สา่วนมากจะเป็นการแข่งขันกีฬาหรือการจัดงานรื่นเริง

ปัจจุบันการจัดงานวันครู ได้กำหนดให้จัดพร้อมกันทั่วประเทศ สำหรับส่วนกลางจัดที่หอประชุมคุรุสภา โดยมีคณะกรรมการจัดงานวันครูซึ่งมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน ประกอบด้วยบุคคลหลายอาชีพร่วมกันเป็นผู้จัด
สำหรับส่วนภูมิภาคให้จังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ โดยตั้งคณะกรรมการจัดงานวันครูขึ้นเช่นเดียวกันกับส่วนกลางจะรวมกันจัดที่จังหวัดหรือแต่ละอำเภอก็ได้
รูปแบบการจัดงานในส่วนกลาง(หอประชุมคุรุสภา) พิธีจะเริ่มตั้งแต่เช้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการจัดงานวันครู พร้อมด้วยครูอาจารย์ และ ประชาชน ร่วมกันทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ จำนวน 1,000 รูป หลังจากนั้นทุกคนที่มาร่วมงานจะเข้าร่วมพิธีในหอประชุมคุรุสภา นายกรัฐมนตรีเดินทางมาเป็นประธานในงาน ดนตรีบรรเลงเพลงมหาฤกษ์ นายกรัฐมนตรี จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย ประธานฝ่ายสงฆ์ให้ศีล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวรายงาน ต่อนายกรัฐมนตรี เสร็จแล้วพิธีบูชาบูรพาจารย์โดยครู"อาวุโส"นอกประจำการจะเป็นผู้กล่าวนำพิธีสวดคำฉันท์รำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ดังนี้

ปาเจราจริยา โหนติ คุณุตตรานุสาสกา(วสันตดิลกฉันท์)
ประพันธ์ โดยพระวรเวทย์พิสิฐ(วรเวทย์ ศิวะศรียานนท์)
ข้าขอประนมกรกระพุ่ม อภิวาทนาการ
กราบคุณอดุลคุรุประทาน หิตเทิดทวีสรร
สิ่งสมอุดมคติประพฤติ นรยึดประคองธรรม์
ครูชี้วิถีทุษอนันต์ อนุสาสน์ประภาษสอน
ให้เรืองและเปรื่องปริวิชาน นะตระการสถาพร
ท่านแจ้งแสดงนิติบวร ดนุยลอุบลสาร
โอบเอื้อและเจือคุณวิจิตร ทะนุศิษย์นิรันดร์กาล
ไป่เบื่อก็เพื่อดรุณชาญ ลุฉลาดประสาทสรรพ์
บาปบุญก็สุนทรแถลง ธุระแจงประจักษ์แจ้งครัน
เพื่อศิษย์สฤษดิ์คติจรัล มนเทิดผดุงธรรม
ปวงข้าประดานิกรศิษย์ (ษ)ยะคิดระลึกคำ
ด้วยสัตย์สะพัดกมลนำ อนุสรณ์เผดียงคุณ
โปรดอวยสุพิธพรเอนก อดิเรกเพราะแรงบุญ
ส่งเสริมเฉลิมพหุลสุน ทรศิษย์เสมอเทอญ ฯ
ปัญญาวุฒิกเรเตเต ทินโนวาเท นมามิหัง

จากนั้นประธานจัดงานวันครู จะเชิญผู้ร่วมประชุมยืนสงบนิ่ง 1 นาที เพื่อระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ที่ได้ล่วงลับไปแล้ว ครูอาวุโสประจำการนำผู้เข้าร่วมประชุมกล่าวคำปฏิญาณดังนี้

ข้อ 1.ข้าฯจะบำเพ็ญตนให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครู
ข้อ 2.ข้าฯจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ
ข้อ 3.ข้าฯจะรักษาชื่อเสียงของคณะครูและบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม

จบแล้วพระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา นายกรัฐมนตรีมอบรางวัลครูดีเด่นประจำปี มอบของที่ระลึกให้ครูอาวุโสนอกและในประจำการสุดท้ายกล่าวคำปราศัยและให้โอวาทแก่ครูที่มาประชุม

จรรยามารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีของครู

1.เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ
2.ยึดมั่นในศาสนาที่ตนนับถือ ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นศาสนาอื่น
3.ตั้งใจสั่งสอนศิษย์และปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เกิดผลดีด้วยความเอาใจใส่ อุทิศเวลาของตนให้แก่ศิษย์ จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่การงานไม่ได้
4.รักษาชื่อเสียงของตนมิให้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว ห้ามประพฤติการใดๆอันอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติและชื่อเสียงของครู
5.ถือปฏิบัติตามกฎระเบียบและแบบธรรมเนียมอันดีงามของสถานศึกษา และปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่การงานโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนของสถานศึกษา
6.ถ่ายทอดวิชาความรู้โดยไม่บิดเบือนและปิดบังอำพราง ไม่นำหรือยอมให้นำผลงานทางวิชาการของตนไปใช้ในทางทุจริตหรือเป็นภัยต่อมนุษย์ชาติ
7.ให้เกียรติแก่ผู้อื่นทางวิชาการโดยไม่นำผลงานของผู้ใดมาแอบอ้างเป็นผลงานของตน และไม่เบียดบังใช้แรงงานหรือนำผลงานของผู้อื่นไปเพื่อประโยชน์ส่วนตน
8.ประพฤติตนอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต และปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความเที่ยงธรรม ไม่แสวงหาประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ
9.สุภาพเรียบร้อยประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ รักษาความลับของศิษย์ ของผู้ร่วมงานและสถานศึกษา
10.รักษาความสามัคคีระหว่างครูและช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหน้าที่การงาน


แหล่งที่มา : http://school.obec.go.th/donyai/wankru.htm

วันครูแห่งชาติ


ความหมาย

ครู หมายถึงผู้อบรมสั่งสอน ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ
ประวัติความเป็นมา
วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ. 2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า"คุรุสภา" ซึ่งมีสถานะเป็นนิติบุคคล และให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็น ในเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ จัดสวสัดิการให้แก่ครูและครอบครัว ได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู
ด้วยเหตุนี้ในทุกๆปี คุรุสภาจึงจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศ แถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา พร้อมทั้งซักถามปัญหาข้อข้องใจต่างๆเกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภา โดยมี คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัย สถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุม "สามัคคยาจารย์" หอประชุมของจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ในระยะหลังจึงมาใช้หอประชุมของคุรุสภา
ปี พ.ศ. 2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวปราศัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า "ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่า"วันครู"ควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้แสดงความเคารพสักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับคนทั่วไป ถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือ ครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง"
จากแนวความคิดนี้ กอรปกับคว่ทคอดเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่นๆที่ล้วนเรียกร้องให้มี "วันครู" เพื่อให้เป็นการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่แประโยชน์ของชาติ และประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มี "วันครู" เพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอในหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครู และเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอีนดีระหว่างครูกับประชาชน
ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2499 ให้วันที่ 16 มกราคม ของทุกปีเป็น "วันครู" โดยถือเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2488 เป็นวันครูและให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้
การจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2500 ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงาน งานวันครูนี้ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้ให้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ หนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุ


แหล่งที่มา

งานสวัสดีปีใหม่ 2553


จังหวัดขอนแก่น
ขอนแก่น Countdown 2010

สถานที่: ประตูเมือง จังหวัดขอนแก่นDate:31 ธันวาคม 2552
กิจกรรม: - ประดับประดาด้วยไฟตกแต่ง ห้อยระย้ากว่าพันดวง
- สุดอลังการธารน้ำพุเจ็ดสี ที่ทะยานพุ่งสูงกว่า 9 เมตร
- ครั้งแรกของเมืองไทยกับการจัดดอกไม้ให้เป็นผืนพรมยักษ์ Flower carpet
- ร่วมนับถอยหลังกับคอนเสิร์ตจากศิลปินชื่อดัง
- สุดยอดไฮไลท์เคาท์ดาวน์กับแสง สี เสียง คือเทคนิคไพโรเอฟเฟคจากอเมริกาที่จะสร้างภาพประทับใจบนประตูเมืองขอนแก่นใต้แสงพุ จำนวน 983 นัด
- มหามงคลแห่งการเริ่มต้นชีวิตใหม่กับการรอดประตูเมืองในคืนข้ามปี

แหล่งที่มา
1.สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานขอนแก่น โทร.0-4324-4989
2.http://www.amazingcountdown.com/2010/102-3-1-%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%99-Countdown-2010-th.html

วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2553

งานสวัสดีปีใหม่ 2553



ความหมายของ วันขึ้นปีใหม่
ความหมายของวันขึ้นปีใหม่ ตามพจนานุกรม ฉบับราชตบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า " ปี" ไว้ดังนี้ ปี หมายถึง เวลา ชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน : เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ

ความเป็นมาของ วันขึ้นปีใหม่
ในอดีต วันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 4 ครั้งคือ ครั้งแรกถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ซึ่ง ตรงกับเดือนมกราคม ครั้งที่ 2 กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหมณ์ ซึ่งตรงกับเดือนเมษายน
การกำหนดวันขึ้นปีใหม่ใน 2 ครั้งนี้ ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก ต่อมาได้ถือเอาทางสุริยคติแทน โดยกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.2432 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็น วันขึ้นปีใหม่อยู่ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ไม่สู้จะมีการรื่นเริงอะไรมากนัก สมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นใน กรุงเทพฯเป็นครั้งแรก
การจัดงานวันขึ้นปีใหม่ที่ได้เริ่มเมื่อวันที่ 1 เมษายน ได้แพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อๆมา และในปี พ.ศ.2479 ก็ได้มีการ จัดงานรื่นเริงปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด วันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ในสมัยนั้นทางราชการเรียกว่า วันตรุษสงกรานต์
ต่อมาได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ซึ่งมีหลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานกรรมการ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็น วันขึ้นปีใหม่เป็นต้นไป
เหตุผลที่ทางราชการได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายนมาเป็นวันที่ 1 มกราคม ก็คือ

1. ไม่ขัดกับพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ
2. เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนา
3. ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก
4. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย กิจกรรมที่ชาวไทยส่วนใหญ่มักจะยึดถือปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่ได้แก่
1. การทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้าน หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ
2. การกราบขอพรจากผู้ใหญ่ และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร
3. การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆ วันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีตให้ดีขึ้น
กิจกรรมใน วันขึ้นปีใหม่
วันที่ 1 มกราคม ของทุกปี จะมีการทำบุญตักบาตรและอุทิศส่วนกุศลผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ฟังเทศน์ ปล่อยปลา ปล่อยนก อวยพรซึ่งกันและกัน หรืออาจจะส่งการ์ดบัตรอวยพร ของขัวญไหว้ผู้ใหญ่เพื่อรับพร และสรงน้ำพระพุทธรูป ประดับธงชาติ และจะเตรียมทำความสะอาดบ้าน และที่พักอาศัย

เพลงวันปีใหม่ (เพลงพรปีใหม่ เพลงพระราชนิพนธ์ในหลวง)
ทำนอง: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช

คำร้อง: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ
สวัสดีวันปีใหม่พา ให้บรรดาเราท่านรื่นรมย์ฤกษ์ยามดีเปรมปรีดิ์ชื่นชม ต่างสุขสมนิยมยินดีข้าวิงวอนขอพรจากฟ้า ให้บรรดาปวงท่านสุขศรีโปรดประทานพรโดยปรานี ให้ชาวไทยล้วนมีโชคชัยให้บรรดาปวงท่านสุขสันต์ ทุกวันทุกคืนชื่นชมให้สมฤทัยให้รุ่งเรืองในวันปีใหม่ ผองชาวไทยจงสวัสดีตลอดปีจงมีสุขใจ ตลอดไปนับแต่บัดนี้ให้สิ้นทุกข์สุขเกษมเปรมปรีดิ์ สวัสดีวันปีใหม่เทอญ
แหล่งข้อมูล

วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2553

ปัจจัยในการดำรงชีพ (ยารักษาโรค)


หมอยากลางบ้าน
หมอยาแผนโบราณ เป็นการรักษาแบบพื้นบ้าน ในชนบทอีสานมีวิธีการสืบทอดความเชื่อในการรักษาแบบโบราณ ผู้ที่มีอาชีพรักษาผู้ป่วย เรียกว่า “หมอยากลางบ้าน” เรียกยาที่นำมารักษานี้ว่า “ยาสมุนไพร” หรือยากลางบ้านในปัจจุบันนี้ถึงแม้ว่าตำรายากลางบ้านบางส่วนอาจสูญหายและขาดการสืบทอดเอาไว้ ก็ตามแต่ทว่าชาวอีสานโดยเฉพาะในดินแดนที่ห่างไกลความเจริญยังคงมีความเชื่อในการรักษาโรคแบบหมอแผนโบราณทสีื่บทอดกันมาอยู่มากหมอยากลางบ้านหรือหมอยาแผนโบราณในภาคอีสานซึ่งมีอยู่มากมาย ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ หมอแต่ละคนมีความเชี่ยวชาญในการรักษาโรคแตกต่างกันออกไป และมีชื่อเรียกกันตาม
ความสามารถหรือความเชี่ยวชาญนั้น ๆ เช่น หมอกระดูก หมอน้ำมัน หมอน้ำมนต์ หมอยาฝนหมอเอ็น ฯลฯ

ยาและชนิดของยากลางบ้าน
ยากลางบ้านที่ใช้ในการรักษาโรคของชาวอีสาน มีหลายชนิดตัวยาแต่ละชนิดมีสรรพคุณในการรักษาโรคแตกต่างกันออกไป แต่อย่างไรก็ตามชนิดของยากลางบ้านหรือสมุนไพรนั้น เมื่อปรุงเสร็จแล้วจะมีลักษณะดังนี้ คือ
- ชนิดเม็ดที่ทำเป็นลูกกลอน ส่วนมากนิยมผสมน้ำผึ้งแล้วปั้นเป็นลูกกลอน

- ชนิดผงที่บดเป็นผงละเอียด ส่วนใหญ่จะเป็นยาที่ละลายน้ำใช้รับประทานหรือใช้เป่าเข้าจมูกเพื่อแก้อาการคัดจมูก เป็นต้น
- ชนิดน้ำ ส่วนใหญ่เป็นการแช่ตัวยาสมุนไพรในน้ำโดยฝนยาสมุนไพรกับหินด้วยละลายน้ำ หรือต้มตัวสมุนไพรเพื่อให้ตัวยาละลายออกมา (น้ำที่ใช้คือน้ำฝนหรือน้ำสะอาด)
- ชนิดน้ำมัน ส่วนใหญ่แล้วได้จากน้ำมันพืช น้ำมันสัตว์และอื่น ๆ


แหล่งที่มา
1.จาก “สังคมและวัฒนธรรมอีสาน” เอกสารประกอบนิทรรศการถาวร “อีสานนิทัศน์” 2549 หน้า 125-188

ปัจจัยในการดำรงชีพ (เครื่องนุ่งห่ม)


2. ผ้าที่ใช้ในพิธีกรรม เป็นผ้าที่ใช้ในพิธีกรรมของชาวบ้านที่มีความเกี่ยวโยงกับความเชื่อ
เรื่องโชคลาง เช่น

- ผ้ายันต์ ที่พบเห็นจะเป็นการใช้จีวรเก่าของพระสงฆ์ ผ้าขาว หรือผ้าแดงมาขีดเขียนอักษรและนำมาบูชา เพื่อสนองตอบความเชื่อเรื่องโชคลางต่าง ๆ เช่น ให้ทำมาค้าขึ้น ให้สอบเป็นเจ้าเป็นนายได้ หรือแม้กระทั่งกันภูติผีปีศาจต่าง ๆ มารบกวน
- ผ้าเอ้บั้งไฟ เป็นผ้าไหม้หรือผ้าฝ้ายที่ทออย่างประณีตด้วยการจกหรือขิดใช้คล้องคอพญานาคบนองค์บั้งไฟ เพื่อความสวยงาม ซึ่งจะเป็นผ้าที่ดูโดดเด่นที่สุดในขบวนแห่บั้งไฟของชาวอีสาน
- ผ้าที่ใช้ถวายพร้อมเชิงบาตรกราบ เป็นผ้าฝ้ายที่ย้อมด้วยขมิ้นเหลืองผืนกระทัดรัด ซึ่งพระสงฆ์ใช้รองเวลารับของถวายจากฆราวาสที่เป็นหญิง โดยพระสงฆ์จะจับชายผ้าอีกด้านเวลารับ


3. ผ้าในพิธีทางพุทธศาสนา เป็นผ้าที่ใช้ประกอบในพิธีกรรมทางพุทธศาสนา เช่น
- ผ้าผะเหวด เป็นผ้าฝ้ายทอพื้นสีขาว หากเป็นการทออย่างหยาบ ๆ อาจมีการลงแป้งเพื่อปิดรอยสานเส้นใยผ้าและเพื่อสะดวกต่อการลงสีที่ใช้ในการเขียนภาพบรรยาย เรื่องราวของพระเวสสันดรทั้ง 13 กัณฑ์ ส่วนผงผะเหวดจะเป็นผ้าฝ้ายสีขาวทอแบบหยาบ ๆ มีการปักขิดสีจาง ๆเป็นช่วงยาวประมาณ 2-3 วา ตรงชายผ้าประดับด้วยผ้าไหม้หรือผ้าฝ้ายทอแบบขิดสีสันสวยสะดุดตา ในบางพื้นที่อาจมีการแขวนกระดิ่งที่ชายผ้า ผ้าจะผูกกับเสาไม้ไผ่สูง 3-4 วา ในงาน “เทศกาลบุญผะเหวด”
- ผ้านุ่งนาคและผ้าปกหัวนาค โดยปกติผ้านุ่งนาคจะเป็นผ้าไหมทอสีพื้น บางทีอาจเป็นโสร่งลาย ซึ่งนาคใช้นุ่งในพิธีบวชนาค ก่อนจะเปลี่ยนเป็นจีวรของพระ ส่วนผ้าปกหัวนาคจะเป็นผ้าฝ้ายทอสีขาวบริสุทธิ์ ใช้ปกหัวนาคในขณะทำพิธีบวชนาค โดยเฉพาะในตอนแห่นาครอบอุโบสถหรือหมู่บ้านเพื่อเป็นการกันความร้อนจากไอแดด
- ผ้าห่อคัมภีร์ไบลาน จะใช้ผ้าไหมเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมักเป็นไหมที่ทอโดยการมัดหมี่ ถือว่าเป็นศิลปะการทอชั้นสูงของคนอีสาน ใช้ห่อเพื่อเก็บคัมภีร์ไบลานจากฝุ่น มอด และแมลงต่าง ๆ เข้าทำลาย ส่วนผ้ารองคัมภีร์ไบลานจะเป็นผ้าไหมหรือฝ้าย ทอด้วยการขดหรือจกผืนขนาดกระทัดรัดใช้รองคัมภีร์ใบลานเวลาพระเทศน์


แหล่งที่มา
1.จาก “สังคมและวัฒนธรรมอีสาน” เอกสารประกอบนิทรรศการถาวร “อีสานนิทัศน์” 2549 หน้า 125-188

ปัจจัยในการดำรงชีพ (เครื่องนุ่งห่ม)


ประเภทของผ้าในวิถีชีวิตของชาวอีสาน
1. ผ้าในวิถีชีวิต เป็นผ้าที่ใช้กันตามปกติ เช่น

- ผ้าซิ่น เป็นผ้านุ่งของผู้หญิงทอด้วยไหมหรือฝ้าย จะใช้นุ่งในทุกโอกาสขณะที่อยู่บ้านหรือออกไปธุระนอกบ้านทำงานในไร่นา ใช้เป็นผ้านุ่งอาบน้ำ เป็นชุดนอน นุ่งเวลามีงานเทศกาล หรือไปประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ทั้งนี้ก็จะเลือกใช้ผ้าซิ่นแบบต่าง ๆ ตามแต่โอกาสและวาระ
- ผ้าโสร่ง เป็นผ้านุ่งของผู้ชายทอด้วยผ้าไหม้หรือผ้าฝ้ายเป็นลวดลายต่าง ๆ ใช้ในทุกโอกาสเหมือนผ้านุ่งของผู้หญิง ทั้งนี้แล้วแต่ประเภทของงาน
- ผ้าอีโป้ หรือผ้าขาวม้าจัดเป็นผ้าสารพัดประโยชน์ โดยปกติแล้วผู้ชายจะใช้โพกหัวขณะทำงานในไร่นา ผูกเอวหรือพาดบ่า แต่ก็เห็นผู้หญิงใช้กันทั่วไป เช่น เป็นผ้าคลุมหน้าเวลาจะออกทำงานกลางแจ้ง หรือจะใช้มัดออกเวลาอยู่บ้าน เป็นต้น
- ผ้าแพรเบี่ยง เป็นผ้าที่ผู้หญิงหรือผู้ชายใช้พาดหรือสะพายบ่าเวลาไปร่วมทำบุญ ผ้าชนิดนี้มีการทออย่างวิจิตรบรรจง ด้วยการขิดหรือจก
- ผ้าอู่ เป็นผ้าผืนใหญ่ลักษณะเหมือนผ้าแพรหรือผ้าขาวม้า ส่วนใหญ่ทอด้วยผ้าฝ้าย ใช้ผูกเป็นเปลให้เด็กนอน
- ผ้าสมมา เป็นผ้าที่ฝ่ายหญิงนั้นตั้งใจทออย่างประณีต เพื่อมอบเป็นของกำนัลแก่ญาติฝ่ายชายและตัวเจ้าบ่าวในวันแต่งงาน แสดงให้เห็นถึงความพร้อมของการเป็นแม่ศรีเรือนที่ดีในอนาคต และเพื่อให้ญาติฝ่ายชายเกิดความรักใคร่เอ็นดู
- ผ้าคลุมศพ เป็นผ้าที่ใช้ห่อศพของคนตายก่อนนำไปเผา ทอด้วยฝ้ายหรือผ้าไหม บางทีจะใช้ผ้าเก่าที่เคยเป็นสมบัติของผู้ตาย บางทีจะใช้ผ้าใหม่ที่ทออย่างประณีต เวลาเผาจะเอาผ้าออกแล้วนำผ้านั้นไปถวายพระ


แหล่งที่มา
1.จาก “สังคมและวัฒนธรรมอีสาน” เอกสารประกอบนิทรรศการถาวร “อีสานนิทัศน์” 2549 หน้า 125-188

ปัจจัยในการดำรงชีพ (เครื่องนุ่งห่ม)


ลายผ้าขิด
ผ้าขิด
มีอุปกรณ์ที่สำคัญคือไม่เก็บขิดทำให้เกิดลวดลายโดยการสะกิดเส้นด้ายเส้นยืนขึ้นเป็นระยะตามลวดลายที่กำหนดทั้งนี้คำว่า “ขิด” มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่าสะกิดในภาคกลาง ลักษณะลายของผ้าขิดจะเป็นแบบลายเรขาคณิตที่เกิดจากการเว้นช่องของเส้นด้ายโดยยกเส้นยืนตามจังหวะที่ต้องการเว้น เพื่อให้เส้นพุ่งเดิน การวางเส้นยืนที่ห่างไม่เท่ากันจะทำให้เกิดลายโดยใช้ไม้เก็บขิดงัดซ้อนเส้นด้ายไปด้วยขณะที่ทอการทอผ้าขิดถือเป็นการทอผ้าที่ทำให้เกิดลวดลายสำเร็จอยู่ในกี่ลักษณะที่ผ้าขิดมักเป็นการทดลายซ้ำ ๆ กันตลอดความกว้างของผ้านิยมทอเป็นสไบหรือผ้าเบี่ยงและทำเป็นตัวหรือตีนซิ่น ในผ้าสไบช่างที่มีฝีมือสามารถประดิษฐ์ลวดลายต่างๆ เช่น ลายรูปคน ช้าง หงส์ สิงห์ ได้อย่างสวยงาม

ลายผ้าขิดที่ใช้ในโอกาสต่าง ๆ
-ขิดดอกขิด: ใช้ในงานบุญ งานบวชนาค

-ขิดลายตะเภาหลงเกาะ: ใช้ในบวชนาค
-ขิดแมงเงา: ใข้รับแขกที่บ้าน
-ขิดทัง: ใช้สำหรับสงฆ์มาทำบุญบ้าน
-ขิดขอ: ใช้แต่งห้องรับแขก
-ขิดดอกแก้ว: ใช้ไหว้ผู้ใหญ่
-ขิดกาบใหญ่: ใช้ไหว้ผู้ใหญ่
-ขิดกาบน้อย: ใช้แต่งห้องลูกเขย
-ขิดดอกจันทร์: ใช้ในงานสงกรานต์
-ขิดดอกงูเหลือม: ขิดหมากโม ขิดประแจนไช ขิดแมงงอด: ใช้ในบ้าน
-ขิดโมกระหย่อย: ใช้ปูแท่นบูชา


ลายผ้าขิด มักจะเป็นรูปทรงเรขาคณิต จุด สี่เหลี่ยม หรือเส้นตรงมี 4 ลักษณะคือ
-จุด ไม่กำหนดเป็นรูปทรงอาจจะทอกระจายหรือต่อเนื่องประกอบลวดลายอื่น ๆ
-เส้นตรง คือ การเรียงจุดให้เป็นแถวทั้งแนวนอนและแนวตั้ง
-สามเหลี่ยม มีทั้งแบบทึบทอกลวงหรือโปร่ง
-สี่เหลี่ยม นิยมใช้สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ผืนผ้า หรือสี่เหลี่ยมด้านเท่า
-ลายผสม ลายขิดที่เป็นลายของแพรวา เช่น ลายพันมหาอุ้มหงส์ ลายนาคสี่แขน ลายช่อ
ขันหมาก ลายดาวไต่เครือ

ชาวบ้านในแทบทุกพื้นที่ของภาคอีสานจะทอผ้าไว้ใช้เอง โดยใช้ฝ้ายและไหมเป็นวัตถุดิบที่สำคัญ ผ้าที่ทอได้จะนำมาใช้เป็นเครื่องนุ่มห่มและเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ใช้ในพิธีกรรมของชาวบ้านเอง หรือแม้แต่พิธีกรรมทางพุทธศาสนา ในครั้งอดีตยังใช้เป็นเครื่องแลกเปลี่ยนตามแต่โอกาสและวาระเป็นส่วยหรือเครื่องบรรณาการ เพื่อยกเว้นการเกณฑ์แรงงานของหัวเมืองใหญ่ การทอผ้าที่ใช้ในโอกาสที่สำคัญ เป็นการแสดงถึงฝีมือ ความละเอียด ความอดทนและจินตนาการของผู้ทอ รวมทั้งความเฉลียวฉลาดในการนำวัตถุดิบจากธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ทั้งในการใช้งานและความสวยงาม ดังนนั้ ผลิตผลจากการทอผ้าจึงเป็นเครื่อวัดคุณสมบัติของผู้หญิงในสังคมอีสานถึงความพร้อมที่จะเป็นภรรยาที่ดีในอนาคต ด้วยเหตุนี้ผู้หญิงจึงได้รับการถ่ายทอด ความรู้เรื่องการทอผ้าโดยผ่านระบบครอบครัวอย่างต่อเนื่อง

แหล่งที่มา
1.จาก “สังคมและวัฒนธรรมอีสาน” เอกสารประกอบนิทรรศการถาวร “อีสานนิทัศน์” 2549 หน้า 125-188

ปัจจัยในการดำรงชีพ (เครื่องนุ่งห่ม)


ผ้าจก คือการควัก เส้นไหมหรือเส้นฝ้าย ขึ้นมาจากข้างล่างสอดสลับเป็นลวดลายตามต้องการโดยใช้ขนแม่นคล้ายทอสลับกับการปัก คือ ต้องอาศัยความชำนาญมากลวดลายของผ้าจกคล้ายกับลายขิด แต่ละขิดแต่ละหน่วยไม่อาจทำลายสีสลับกันได้ เพราะใช้เส้นพุ่งเส้นเดียวตลอดในแต่ละครั้ง แต่ละหน่วยแต่ละลายจึงทำได้เพียงสีเดียว ส่วนลายจกจะทำสีลายสลับกันได้ต้องการสีอะไรตรงไหนก็สอดไหมสีนั้นลงไป แล้วควักขึ้นมา จากนั้นกระแทกด้วยฟืมให้แน่นผ้าจกส่วนมากชอบทำเป็นผ้าสไบ (ผ้าเบี่ยง) ที่รู้จักกันดี ได้แก่
ผ้าแพรวา ของกาฬสินธิ์ นอกจากนั้นยังนิยมทำเป็นลายตีนซิ่น

ผ้าแส่ว คือ ผ้าที่ใช้เก็บรักษาและสืบทอดลวดลายนั้น โดยจะทำลวดลายตัวอย่างเก็บรวมกันไว้ในผ้าฝ้ายสีขาวขนาดกว้างประมาณ 40 เซนติเมตร ยาวประมาณ 50 เซนติเมตร แต่จะไม่กว้างหรือยาวเกินไป เพราะสะดวกในการกางดูลายและเก็บรักษา

ลวดลายผ้าจกนั้น โดยเฉพาะผ้าแพรวามีความโดดเด่นและลักษณะพิเศษโดยได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมและะรรมชาติ ส่วนใหญ่จะทอลายหลักใหญ่ ๆ เพียง 4-5 ลายเท่านั้น เช่น ลายดอกกระบวนเอง ลายกิ่ว ลายใบ-บุ่นหว่าน ลายพันมหา ลายนาคหัวจุ้ม และลานนาคหัวจุ้มสองแขน

แหล่งที่มา
1.จาก “สังคมและวัฒนธรรมอีสาน” เอกสารประกอบนิทรรศการถาวร “อีสานนิทัศน์” 2549 หน้า 125-188

ปัจจัยในการดำรงชีพ (เครื่องนุ่งห่ม)


ลายมัดหมี่
มัดหมี่
คือ การย้อมฝ้ายหรือไหมก่อนนำไปทอโดยขึงเส้นไหมเข้ากับโฮงหมี่ แล้วใช้เชือกมัดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสีให้แน่นตามลวดลายที่ต้องการแล้วนำไปย้อมสี เมื่อแก้ออกส่วนที่มัดจะเป็นสีขาว ถ้าต้องการมากขึ้นต้องนำไปมัดทับสีเดิม เรียกว่า “โอบ” เว้นไว้เฉพาะที่ต้องการให้เป็นสีการมัดหมี่ต้องอาศัยการคำนวณด้วยความชำนาญ เพื่อให้ลายที่มัดออกมาสวยงาม การมัดหมี่ในประเทศไทยจะมัดเฉพาะเส้นพุ่งเท่านั้น
อุปกรณ์ในการมัดหมี่ “โฮง”

โฮง หรือโฮงหมี่ถือหลักสำหรับใส่ด้ายหรือไหมสำหรับมัดหมี่ให้เป็นลวดลายลายผ้ามัดหมี่ เป็นลายผ้าที่แสดงถึงแรงบันดาลใจจากสิ่งรอบข้างและธรรมชาติใกล้ตัว เช่น สัตว์ พืช และสิ่งประดิษฐ์ จากการสำรวจพอจะแบ่งคัดเลือกลายมัดหมี่ออกเป็นแม่ลายพื้นฐาน 7 ลาย คือ
1.หมี่ข้อมี 2 ชนิด คือ หมี่ข้อตรง หวี่ข้อหว่าน
2. หมี่โดมมี 2 ชนิด คือ หมี่โดมห้า หมี่โดมเจ็ด
3. หมี่มัดจับ (หมี่หมากจับ)
4. หมี่กงน้อย มี 2 ชนิด หมี่กงน้อยห้า หมี่กงน้อยเจ็ด
5. หมี่ดอกแก้ว
6. หมี่ในไผ่


แหล่งที่มา
1.จาก “สังคมและวัฒนธรรมอีสาน” เอกสารประกอบนิทรรศการถาวร “อีสานนิทัศน์” 2549 หน้า 125-188

ปัจจัยในการดำรงชีพ (เครื่องนุ่งห่ม)


ลายมัดหมี่
มัดหมี่ คือ การย้อมฝ้ายหรือไหมก่อนนำไปทอโดยขึงเส้นไหมเข้ากับโฮงหมี่ แล้วใช้เชือก
มัดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสีให้แน่นตามลวดลายที่ต้องการแล้วนำไปย้อมสี เมื่อแก้ออกส่วนที่มัดจะ
เป็นสีขาว ถ้าต้องการมากขึ้นต้องนำไปมัดทับสีเดิม เรียกว่า “โอบ” เว้นไว้เฉพาะที่ต้องการให้เป็นสี
การมัดหมี่ต้องอาศัยการคำนวณด้วยความชำนาญ เพื่อให้ลายที่มัดออกมาสวยงาม การมัดหมี่ใน
ประเทศไทยจะมัดเฉพาะเส้นพุ่งเท่านั้น
อุปกรณ์ในการมัดหมี่ “โฮง”
โฮง หรือโฮงหมี่ถือหลักสำหรับใส่ด้ายหรือไหมสำหรับมัดหมี่ให้เป็นลวดลาย
ลายผ้ามัดหมี่ เป็นลายผ้าที่แสดงถึงแรงบันดาลใจจากสิ่งรอบข้างและธรรมชาติใกล้ตัว
เช่น สัตว์ พืช และสิ่งประดิษฐ์ จากการสำรวจพอจะแบ่งคัดเลือกลายมัดหมี่ออกเป็นแม่ลาย
พื้นฐาน 7 ลาย คือ
1.หมี่ข้อมี 2 ชนิด คือ หมี่ข้อตรง หวี่ข้อหว่าน
2. หมี่โดมมี 2 ชนิด คือ หมี่โดมห้า หมี่โดมเจ็ด
3. หมี่มัดจับ (หมี่หมากจับ)
4. หมี่กงน้อย มี 2 ชนิด หมี่กงน้อยห้า หมี่กงน้อยเจ็ด
5. หมี่ดอกแก้ว
6. หมี่ในไผ่

ปัจจัยในการดำรงชีพ (เครื่องนุ่งห่ม)




การทอผ้า
การทอผ้าเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านของชาวอีสานที่ถือเป็นหน้าที่ของสตรีที่จะใช้เวลาว่างการเก็บเกี่ยว มาทอผ้าสำหรับนำมาใช้ในครอบครัวหรือประเพณีต่าง ๆ ชาวอีสานรับอิทธิพลของธรรมชาติรอบข้างมาใช้เป็นศิลปะในการทอผ้าลายต่าง ๆ เทคนิคและกรรมวิธีการผลิตผ้าไหมและผ้าฝ้ายเป็นขั้นตอน ที่เกิดจากการผสมผสานประสบการณ์เทคโนโลยีพื้นบ้านที่สืบต่อกันมาเป็นเวลานานโดยรูปแบบของผ้า เรียกตามเทคนิคการ

ทอ เช่น ผ้าขิด ผ้ามัดหมี่ ล้วนมีความสัมพันธ์กับผ้าทอในดินแดนใกล้เคียง เช่น ลาวและกัมพูชา ทั้งยังมีการแลกเปลี่ยนความรู้ในการให้รูปแบบเทคนิค และลวดลายการทอผ้าแก่กัน อันเป็นผลมาจากการอพยพเคลื่อนย้ายของผู้คนจากประเทศเพื่อนบ้านและกลุ่มชนที่ตั้งหลักแหล่งอยู่ปัจจุบันทำให้รูปแบบของผ้าอีสานมีความหลากหลายและผสมผสานจนออกมาเป็นรูปแบบเฉพาะท้องถิ่น จนเป็นเอกลักษณ์ของภูมิภาค

การเตรียมเส้นไหม
การเตรียมเส้นไหมไปมัดหมี่ให้เป็นลวดลาย
1. การเตรียมเส้นเครือ: จะนำไหมที่แกว่งแล้วไปคันหูก โดยใช้หลักเฝือ เพื่อกำหนดความยาวตามต้องการ เมื่อได้เส้นไหมยาวตามต้องการแล้วจึงนำไปย้อมสีตากให้แห้งนำไปสืบหูกเพื่อเตรียมทอเป็นผ้า
2. การเตรียมเส้นตำ: นำไหมที่แกว่งแล้วไปแกว่งเพื่อทำเป็นฝอย แล้วย้อมสีตามให้แห้งนำไปกวักเข้าอักและปั่นหลอดใส่กระสวย สำหรับตำหรือพุ่งเป็นผืนผ้า
3. การเตรียมเส้นตำ (เส้นหุ่ง) ที่มัดหมี่เป็นลวดลาย: การมัดหมี่เป็นการมัดหรือผูกเส้นไหมให้เป็นลวดลายต่าง ๆ วิธีการเริ่มจากการนำเส้นไหมที่แกว่งแล้วทำเป็นฝอย แล้วนำไปใส่โฮงหมี่(หลักมัดหมี่) เมื่อมัดเสร็จแล้วปลดออกจากโฮงหมี่ไปย้อมสี (ส่วนที่มัดสีจะไม่ติด) ผู้ย้อมจะใช้น้ำสีแต้มให้เป็นสีตามต้องการนำไปตากให้แห้งกวักเข้าอัก เพื่อปั่นหลอดร้อยหลอดเรียงตามลำดับก่อนหลัง ห้ามสลับกันนำไหลอดไปใส่กระสวยเป็นเส้นพุ่งทอเป็นผืนผ้าต่อไป


การเตรียมเส้นฝ้ายเพื่อทอ
1. การเตรียมเส้นตำ: กลุ่มเส้นตำจะมีทั้งเส้นตำที่เป็นสีพื้นและเส้นตำที่เป็นมัดหมี่หรือมัดย้อม เส้นตำที่มัดหมี่หลังบ่าและฟอกเรียบร้อยแล้วจะนำไปใส่โฮงหมี่ และมัดลวดลายตามที่ต้องการ เสร็จแล้วไปย้อมสีตามต้องการแล้วจึงแกะเชือกที่มัดออกแล้วนำมากางใส่กงเพื่อปั่นด้ายจากกงใส่อีกเรียกว่า “การกวัก” จากนั้นจึงปั่นด้ายจากอักใส่หลอดโดยดึงปลายด้านหนึ่งพันกับหลอดไม้เล็ก ๆ สอดอยู่ที่แกนของเหล็กในหมุนมือหมุน ให้เหล็กไนหมุนเพื่อปั่นด้ายเข้าหลอด

2. การเตรียมเส้นสำหรับเข็นเป็นเส้นเครือ: หลังจากผ่านการบ่าและฟอกแล้วนำมาย้อมใส่กงและปั่นจากกงใส่อัก เรียกว่า “การกวัก” เช่นเดียวกันเมื่อได้เส้นฝ้ายจากการกวักฝ้ายอยู่ในอีกแล้วนำอัก 2 อันมาคัน เรียกว่า “การคันหูก” เพื่อกำหนดเส้นเพื่อจะทำเป็นเส้นเครือ ทำคัดต้องคันด้าย 2 เส้นพร้อมกัน ถ้าต้องการให้หนาให้ใส่สี่เส้นจะใส่เส้นเดียวไม่ได้เพราะต้องใช้เป็นเส้นบนเส้นล่าง เมื่อเตรียมเส้นด้ายเรียบร้อยแล้วให้พันเส้นด้ายคล้องไปตามหลักแต่ละหลักเผือจากล่างไปถึงบนสุดแล้วพันเส้นด้ายกลับมาทางเดิม ด้านล่างตรงนี้เป็นจุดสำคัญไขว้เส้นด้ายให้เป็นเส้นบนเส้นล่าง ซึ่งจะนำไปสืบเข้ากับเขาและฟืมต่อไป เมื่อได้จำนวนเส้นครบพอกับฟืมแล้วจึงถอดด้ายออกจากหลักเผือเพื่อเก็บนำไปสืบหูกต่อไปเรียกด้านที่คันแล้วว่า “เครือหูก” จากนั้นนำด้ายนี้ไปใส่ในช่องพันฟืม โดยนำเส้นแต่ละเส้นผูกต่อกันกับเส้นด้ายที่มีอยู่แล้ให้แนบแน่น และครบทุกส้น

แหล่งที่มา
1.จาก “สังคมและวัฒนธรรมอีสาน” เอกสารประกอบนิทรรศการถาวร “อีสานนิทัศน์” 2549 หน้า 125-188

ปัจจัยในการดำรงชีพ (ที่อยู่อาศัย)


3.2 เรือนโข่ง ลักษณะของเรือนประเภทนี้จะประกอบด้วยเรือนใหญ่และเรือนโข่ง (เรือนน้อย) ตั้งอยู่ตรงข้าม อาจตั้งชิดติดกันเป็นเรือนจั่วแฝดเชื่อมติดกันด้วยฮางริน (รางน้ำ) ระหว่างหลังคาเรือนทั้งสองหลังหรือตั้งอยู่ห่างกัน แต่เชื่อมด้วยชานก็ได้เรือนโข่งมีขนาดเล็กและหลังคาต่ำกว่าเรือนใหญ่เล็กน้อย มีห้อง 2-3 ห้อง มักกั้นฝาเพียง 3 ด้าน เปิดโล่งด้านที่หันเข้าหาเรือนใหญ่เรือนโข่งมีโครงสร้างเป็นเอกเทศจากเรือนใหญ่ สามารถรื้อไปปลูกใหม่ได้ทันที ใช้ประโยชน์เช่นเดียวกับเกย อาจมีชานแดดหรือเรือนไฟต่อออกทางด้านข้างของเรือน

3.3 เรือนแฝดเรือแฝด จะประกอบด้วยเรือนใหญ่และเรือนอีกหลัง หนึ่งที่เรียก เรือน-แฝด มีรูปร่างประโยชน์ใช้สอยเหมือนกับเรือนโข่งต่างกันตรงที่ลักษณะโครงสร้างของเรือนแฝด คือ ทั้งขื่นและคานจะฝากไว้กับตัวเรือนใหญ่ พื้นเรือนอาจเสมอกันหรือลดระดับจากเรือนใหญ่ก็ได้ ฝาของเรือนแฝดจะทำให้มีขนาดใหญ่หรือลำลองกว่าฝาเรือนใหญ่ ฝาด้านที่หันเข้าหาเรือนใหญ่จะเปิดโล่งเชื่อมกับชาน แดดออกสู่เรือน ไฟเรือนชนิดนี้มักจะเป็นเรือนของผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจดี

แหล่งที่มา
1.จาก “สังคมและวัฒนธรรมอีสาน” เอกสารประกอบนิทรรศการถาวร “อีสานนิทัศน์” 2549 หน้า 125-188

ปัจจัยในการดำรงชีพ (ที่อยู่อาศัย)


3. ที่พักอาศัยประเภทถาวร
ที่พักอาศัยประเภทถาวรจะมีโครงสร้างเป็นไม้จริง (เรือนเครื่องสับ) รูปทรงสี่เหลี่ยมไต้ถุนสูงหลังคาทรงจั่ว เสาเป็นเสากลมหรือเสาเหลี่ยม ฝาเป็นฝาไม้ไผ่สายลายคุปหรือฝาไม้กระดาน(ฝาแอ้มแป้น) ที่พักอาศัยประเภทถาวรนี้อาจจำแนกได้เป็น 3 ประเภท คือ
3.1 เรือนเกย หรือเรือนใหญ่ต่อเกยมีส่วนประกอบสำคัญคือ
3.1.1 เรือนใหญ่ เป็นเรือนขนาด 3 ช่วงเสาหันด้านข้างไปทางทิศตะวันออก ตะวันตก (ปลูกเรือนล่องตะวัน) ตีฝากั้นปิดทึบทั้ง 4 ด้าน ฝาเรือนทางด้านหลังเจาะช่องขนาดกว้าง 1 ศอกยาว 1 ศอก เพื่อให้ลมและแสงสว่างเข้าสู่เรือนเรียกว่า “ป่องเอี้ยม” เจาะประตู 2 หรือ 3 ประตูตามช่วงเสาด้านตรงข้ามแบ่งพื้นที่ใช้ประโยชน์ในตัวเรือนออกเป็น 3 ส่วน คือ
- ห้องเปิง ตั้งอยู่ริมด้านหัวเรือนของเรือนใหญ่เป็นส่วนที่วางหิ้งสักการะบูชาผีบรรพบุรุษ ผีเรือนและหิ้งพระ หรือบางครั้งอาจใช้เป็นห้องนอนของลูกชาย ห้องเปิดอาจเรียกชื่อว่าห้องผีหรือห้องพระก็ได้

- ห้องส้วม จะตั้งอยู่ริมด้านท้ายเรือนของเรือนใหญ่ ตรงข้ามกับห้องเปิดงใช้เป็นห้องนอนของลูกสาวหรือห้องนอนของลูกสายกับลูกเขยหลังแต่งงาน
- ห้องส้วม จะตั้งอยู่ริมด้านท้ายเรือนของเรือนใหญ่ ตรงข้ามกับห้องเปิดงใช้เป็นห้องนอนของลูกสาวหรือห้องนอนของลูกสายกับลูกเขยหลังแต่งงาน
3.1.2 เกย หรือบ้านโล่ง เป็นชานที่มีหลังคาคลุม มีลักษณะเป็นการต่อชานออกมาทางด้านหน้าของเรือน มีหลังคาคลุมพื้นเป็นไม้กระดานด้านข้าง อาจเปิดโล่งหรือกั้นฝาและพื้นเกยจะมีระดับต่ำกวา่ พื้นเรือนใหญ ่ ใช้ประโยชน์เป็นพื้นที่สำหรับกิจกรรมตา่ ง ๆ ในครอบครัว เช่น รับประทานอาหาร รับรองแขกพักผ่อน อิริยาบททำบุญเลี้ยงพระ ทำพิธีสู่ขวัญ ฯลฯ
3.1.3 ชานแดด เป็นการต่อชานออกมาจากทางด้านหน้าเปิดโล่งทั้งด้านบนและด้านข้าง พื้นชานแดดจะลดระดับลงมาจากเกยใช้เป็นสถานที่พักผ่อนยามเย็น เป็นที่รับประทานอาหาร หรือวางผลิตผลทางการเกษตร พื้นที่ส่วนหนึ่งมักสร้างเป็นร้านเพื่อตั้งโอ่งน้ำสำหรับดื่มเรียกว่า “ร้านแอ่งน้ำ”
3.1.4 เรือนไฟ หรือเรือนครัวเป็นส่วนที่ประกอบอาหารเป็นตัวเรือนขนาด 2 ช่วงเสาต่ออกมาจากชานแดดด้านข้างทิศท้ายเรือน ฝาเรือนไฟจะนิยมทำเป็นฝา โปร่งเพื่อระบายอากาศเรือนไฟอาจมีชานมนเป็นที่ตั้งโอ่งน้ำสำหรับประกอบอาหารและล้างภาชนะ

แหล่งที่มา
1.จาก “สังคมและวัฒนธรรมอีสาน” เอกสารประกอบนิทรรศการถาวร “อีสานนิทัศน์” 2549 หน้า 125-188

ปัจจัยในการดำรงชีพ (ที่อยู่อาศัย)


ที่พักอาศัยของชาวอีสาน
รูปแบบที่พักอาศัยของชาวอีสานเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมที่เกิดจากการสั่งสมและถ่ายทอดรูปแบบการก่อสร้างที่พักอาศัยให้เหมาะสมกับสภาทางภูมิศาสตร์และการใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน จนเกิดเป็นแบบแผนและมีคติยึดถือจนกลายเป็นความเชื่อ จารีต ประเพณี ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในชีวิต ถ้าหากจะจำแนกประเภทของที่พักอาศัยของคนชาวอีสาน โดยใช้เกณฑ์อายุการใช้งาน (ช่วั คราว กึ่งถาวรและถาวร) ซงึ่ แต่ละประเภทจะมีลักษณะและการใช้วัสดุที่
แตกต่างกันเป็นเครื่องบ่งชี้อายุการใช้งาน อาจจำแนกได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. ที่พักอาศัยประเภทชั่วคราว
ที่พักอาศัยประเภทนี้จะใช้เฉพาะบางฤดูกาล เช่น เถียงนาหรือเถียงไร่ที่พักอาศัยประเภทนี้จะยกพื้น สูงเสาทำจากไม้จริง หรือ ไม้ไผ่ โครงไม้ไผ่ หลังคามุงหญ้า พื้นไม้ ไผ่สับฟากฝาเปิดโล่ง


2. ที่พักอาศัยประเภทกึ่งถาวร
ที่พักอาศัยประเภทกึ่งถาวรอาจจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
2.1 เรือนเหย้า (เรือน ภาษาอีสาน หมายถึง บ้าน) หรือ เหย้า เป็นเรือนขนาด 2 ห้องเสาสำหรับคู่สามี-ภรรยาที่แยกเรือนออกจากครอบครัวพ่อแม่ เนื่องจากธรรมเนียมไม่นิยมอยู่ร่วมกันหลายครอบครัวในเรือนหลังเดียวกัน เรือนเหย้ามักสร้างอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับเรือนของพ่อแม่เพื่อใช้เป็นที่อยู่ระหว่างที่กำลังสร้างฐานะ ส่วนประกอบของเรือนมีเพียง 2 ห้อง คือห้องนอนและห้องเอนกประสงค์
2.2 ตูบต่อเล้า เป็นการสร้างเกยหรือเทิน (เพิง) ต่อออกมาจากเล้าข้าว (ยุ้งข้าว) มีขนาดตามความยาวของเล้าข้าวประมาณ 2-3 ช่วงเสา วัสดุที่ใช้เป็นวัสดุประเภทเดียวกับใช้สร้างเรือนเหย้า ตูบต่อเล้าเป็นที่อยู่อาศัยชั่วระยะเวลาหนึ่งของสามีภรรยาที่เพิ่งออกเรือน แต่ยังไม่พร้อมที่จะสร้างเรือนเหย้าหรือว่าเรือนใหญ่ได้ เมื่อสามารถสร้างเรือนเหย้าหรือเรือนใหญ่ได้ตูบต่อเล้าก็จะกลายเป็นสถานที่เก็บวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการเกษตร หรือเป็นที่นั่งเล่นพักผ่อนต่อไป


แหล่งที่มา
1.จาก “สังคมและวัฒนธรรมอีสาน” เอกสารประกอบนิทรรศการถาวร “อีสานนิทัศน์” 2549 หน้า 125-188

ปัจจัยในการดำรงชีพ (อาหาร)




แมลง
ชาวอีสานมีความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย อยู่ง่าย พืชผักหรือสัตว์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติทั่วไปในท้องถิ่น สามารถนำมาประกอบเป็นอาหารได้ โดยเฉพาะแมลงที่มีอยู่หลายชนิดนั้น เป็นสัตว์ให้โปรตีนสูง ส่วนมากจะนำมาปรุงด้วยวิธีง่าย ๆ เช่น การคั่วเกลือ นำมาเป็นอาหารเสริในประเภทแกงและอ่อม ซึ่งปัจจุบันความนิยมได้แพร่หลายไปสู่ท้องถิ่นอื่น ๆ แมลงที่นิยมรับประทาน ได้แก่
1.แมลงกินูน
2.มดแดง และ ไข่มดแดง
3.ดักแด้ไหม
4.ต่อ แตน
5.แมลงตับเต่า หรือ ด้วงดิ่ง
6.แมลงเหนียง
7.แมลงกุดจี่ หรือ ด้วงขี้ควาย
8.แมลงงำ หรือ แมลงโป้งเป้ง หรือ ตัวอ่อนแมลงปอ
9.แมลงเม่า
10.จิโป่ม จิ้งโก่ง หรือจิ้งหรีดตัวโต
11.จักจั่น
12.ตั๊กแตนชนิดต่าง ๆ ตั๊กแตนหนวดยาวหรือแมงมัน ตั๊กแตนตำข้าวหรือแมงนบ
13.แมลงกอกหรือด้วงหนวดยาว


แหล่งที่มา
1.จาก “สังคมและวัฒนธรรมอีสาน” เอกสารประกอบนิทรรศการถาวร “อีสานนิทัศน์” 2549 หน้า 125-188

ปัจจัยในการดำรงชีพ (อาหาร)


ปลา
ภาคอีสานเป็นภูมิภาคที่มีเนื้อที่กว้างใหญ่ นอกจากนั้นยังประกอบด้วยแม่น้ำ ห้วย หนองคลอง บึง ตลอดทั่วทั้งภูมิภาค ในฤดูฝนจะมีน้ำมากและอุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์น้ำนานาพันธุ์ปลาเป็นอาหารให้คุณค่าโปรตีนที่สำคัญต่อวิถีชีวิตของชาวอีสานมาแต่โบราณ
1. ปลาบึก เป็นปลาน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เนื้อมากแข็ง หนังหนานำมาประกอบอาหารประเภท ลาบ ก้อย ผัดเผ็ด เอาะ พบมากในแม่น้ำโขง

2. ปลาโจก ตัวโตพอสมควรมีเกล็ดมีก้างมาก เป็นปลาที่ชาวอีสานนิยมรับประทาน เพราะอร่อย รสหวาน มัน เนื้อนุ่ม นำมานึ่งจิ้มน้ำพริกและนึ่งทรงเครื่อง ต้มยำ ลาบ ก้อย
3. ปลานาง (เป็นปลาเนื้ออ่อน) ตัวยาวแบนเล็กน้อย รสมัน เนื้อนุ่ม นำมาประกอบอาหารประเภททอด ต้ม ปิ้ง นึ่ง ผัด เอาะ
4. ปลาสวาย เป็นปลาตัวที่ยาวใหญ่ สีขาว ตรงแก้มไม่มีจุดสีดำ เนื้อสีเหลือง รสมันและมีกลิ่นคาวมากนำมาทำปลาส้ม ปลาแดก
5. ปลาปึ่ง ลำตัวสีดำขาวตะกั่วคล้ายปลาสวาย ต่างกันที่แก้มมีจุดสีดำ รสมัน (เหมือนปลาเทโพ) นำมาทำเค็มหมากนัก ห่อหมก ปลาแดก ลาบ เอาะ
6. ปลาคัง คล้ายปลากดแต่มีหัวใหญ่กว่าสีเขียวเข้ม เนื้อสีขาวนุ่ม ซึ่งนำมาประกอบอาหาร ประเภทลาบ ต้ม เอาะ
7. ปลาค้าว ลำตัวแบน ยาว สีดำ ขาว เนื้อสีขาวนุ่ม จะนำมาประกอบอาหารประเภท ลาบ ต้ม เอาะ
8. ปลาเผาะ ลำตัวและเนื้อจะมีสีขาวนำมาทำห่อหมก หรือนึ่งจิ้มน้ำพริก
9. ปลากด คล้ายปลาคังแต่หัวจะเล็กกว่า เนื้อสีขาวนุ่ม ลำตัวสีดำหรือสีเหลืองนำมาประกอบอาหารประเภทต้มส้มหรือลาบ ปิ้ง
10. ปลาแข้ มีลำตัวใหญ่และหัวใหญ่แต่หางเล็ก ลำตัวลายเหลืองดำ มีเนื้อสีเหลือง มีกลิ่นคาว นำมาประกอบอาหารประเภทลาบ
11. ปลาขบ มีลำตัวและหัวแบน เนื้อและลำตัวมีสีขาว นำมาประกอบอาหารประเภทลาบ
12. ปลาแขยง ตัวเล็ก คล้ายปลากด สีเหลือง นำมาประกอบอาหารประเภททอด ตากแห้ง
13. ปลาอีตู๋ เป็นปลามีเกล็ด ลำตัวสีดำอมน้ำตาล ตัวใหญ่ นำมานึ่งจิ้มน้ำพริก ลาบ ทำปลาส้ม ปลาแดก
14. ปลาหมู มีลำตัวแบนและมีขนาดเท่านิ้วมือ หัวแหลม มีเขียวคล้ายหมูป่า ตัวสีขาวแดง ฟ้า หางสีแดงส้ม เนื้อมีนสมัน นำมาประกอบอาหารประเภท ต้ม ปิ้ง ทอด เอาะ
15. ปลาหลด ตัวดำ ยาวประมาณ 3-5 นิ้ว ปากแหลม หางมีจุดสีดำ นำมาประกอบอาหารประเภททอด ย่าง ปิ้ง ต้มส้ม
16. ปลาหลาด มีตัวและขนาดเดียวกับปลาหลด มีลายสวยเหมือนงู นำมาประกอบอาหารประเภท ปิ้ง ทอด ต้มยำ ต้มส้ม
17. ปลาปาก (ตะเพียน) ตัวขนาดกลาง เกล็ดสีขาวดำมีก้างมาก นิยมใช้ทำส้มปลา


แหล่งที่มา
1.จาก “สังคมและวัฒนธรรมอีสาน” เอกสารประกอบนิทรรศการถาวร “อีสานนิทัศน์” 2549 หน้า 125-188

ปัจจัยในการดำรงชีพ (อาหาร)


อาหารท้องถิ่นที่นิยม
ผัก
ผักพื้นเมืองอีสานที่นิยมรับประทานส่วนมาก ใช้ทำเครื่องเคียงกับอาหารชนิดอื่น หรือบางพวกใช้ปรุงรส
1.ผักกระโดน ผักกระโดนบก ผักกระโดนน้ำ
2.ผักเม็ก
3.ผักติ้ว
4.ใบย่านาง
5.ผักกะหย่า
6.ผักแขยง
7.ผักผำ
8.ผักแว่น
9.ผักแพงพวย

10.ผักกาด
11.สายบัว
12.ผักตังส้ม
13.ดังขม
14.ผักบ่อ
15.ขนุนอ่อน (หมากหมี่)
16.ใบขี้เหล็ก
17.ใบชะพลู (อีเลิด)
18.ผักชะอม (ผักขา)
19.ผักปลัง
20.ผักชีฝรั่ง
21.ผักชีลาว
22.ผักแผ่ว
23.ยอดฟักทองอ่อน
24.ใบมะยมอ่อน
25.ดอกข่า
26.ผักหูเสือหรือใบสาบเสือ
27.ผักกาดฮิ่น
28.มะละกอดิบ (หมากหุ่ง หรือ บักหุ่ง)
29.มะขามยอดอ่อน
30.มะกอกยอดอ่อน
31.เห็ด มีเห็ดละโงก เห็ดไค เห็ดถ่าน เห็ดดิน เห็ดน้ำหมาก เห็ดผึ้ง
32.หน่อไม้ เช่น ไผ่ไล่ ไผ่ป่า ไผ่ตง

ปัจจัยในการดำรงชีพ (อาหาร)


การถนอมอาหาร
การถนอมอาหารคือวิธีการที่จะเก็บอาหารไว้ให้นานและไม่ให้อาหารเน่าเสีย สำหรับชาวอีสานมีวิธีการถนอมอาหารตั้งแต่สมัยโบราณที่สืบทอดกันมา เช่น การตากแห้ง การดอง การหมักเกลือ การกวน การถนอมอาหารด้วยวิธีการเหล่านี้ทำได้ทั้งพืชและสัตว์ อาหารที่นิยมรับประทานและเก็บไว้นานคือ
1. เนื้อเค็ม (ชิ้นแห้ง) เนื้อเค็มมี 2 ชนิด เนื้อเค็มแผ่นบาง ๆ และเนื้อเค็มเป็นเส้นยาวเรียกว่า “ซิ้นหลอด”
2. ส้มหมู (ซิ้นส้ม) หรือที่เรียกว่า แหนม นิยมห่อกับใบมะยมอ่อน รับประทานได้ทั้งใบมะยม
3. ไส้กรอก ภาคอีสานจะนิยมรับประทานไส้กรอกอยู่ 2 ชนิด คือ ทำด้วยเนื้อวัว และเนื้อหมู เก็บไว้ประมาณ 2-3 วันจะเกิดรสเปรี้ยว

4. เค็มบักนัด (เค็มสัปปะรด) ทำจากปลาปึ่งกับสับปะรดออกรสเค็มของปลารสเปรี้ยวของสับปะรดรับประทานกับผักสด หรือจะนำมาปรุงเป็นน้ำพริกทรงเครื่องหรือทำหลนคล้านหลนเต้าเจี้ยว
5. หม่ำ มี 5 ชนิด
5.1 ใช้เนื้อวัดบดละเอียดใส่ในไส้วัวหรือกระเพาะปัสสาวะของวัว
5.2 ตับ บดให้ละเอียดใส่ในไส้วัว
5.3 เนื้อวัวผสมตับ ลักษณะการบิเหมือนกัน คือบดให้ละเอียดแล้วอัดใส่ในไส้วัวเวลารับประทานจะนำมาทอดย่างหรือคั่ว ใส่พริกสด หอมแดงสด ตะไคร้ ใบมะกรูด หรือจะปรุงรสด้วยมะนาวให้เปรี้ยว รับประทานกับผักสด
6. แจ่วบอง จัดเป็นน้ำพริกแห้ง เครื่องปรุงได้แก่ พริกสด กระเทียม พริกแห้ง หอมแดงแห้ง ข่า ตะไคร้ เผาให้สุก (อีสานจะเรียกหมกให้สุก) ปลาย่างให้แห้ง โขลกให้ละเอียด แล้วจึงนำมาปรุงรสกับปลาแดกต้มสุก มะขามเปียก (เครื่องปรุงทุกชนิดต้องทำให้สุกจะเก็บไว้ได้นาน)
7. ลาบปลาแดก ใช้ปลาแดกที่เป็นตัว เช่น ปลาช่อน ปลาปึ่ง ปลาอีตู๋ เอาแต่เนื้อมาสับพร้อมกับพริกสด กระเทียม ข่า ตะไคร้ เผาให้สุกสับให้ละเอียดนำมาปรุงกับน้ำมะนาวและใบมะกรูดหั่นฝอย (เครื่องพริกสด กระเทียม ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูดจะไม่เผาก็ได้)
8. ปลาส้ม นิยมนำปลาตะเพียน ปลาสูด ปลานวลจันทร์ ปลาอีตู๋ ที่สด ขูดเกล็ดออกหมักกับเกลือและข้าวเหนียวนึ่งคั้นให้เข้ากัน แล้วหมักเอาไว้ในไหปิดไว้ไม่ให้อากาศเข้า


แหล่งที่มา
1.จาก “สังคมและวัฒนธรรมอีสาน” เอกสารประกอบนิทรรศการถาวร “อีสานนิทัศน์” 2549 หน้า 125-188

ปัจจัยในการดำรงชีพ (อาหาร)


6. การประกอบอาหารประเภทซุป
เป็นกรรมวิธีการปรุงอาหารประเภทผักอย่างหนึ่งที่ต้องนำผักไปต้มลวก หรือผักสดนำไปหั่นให้เป็นชิ้น ๆ พร้อมกับเติมเครื่องเทศที่ผ่านการโขลกเรียบร้อยแล้วลงไป จากนั้นเติมน้ำร้อนลงไปพอเหมาะจะได้อาหารที่ข้นเติมหอมและสะระแหน่ เพื่อชูรสผักที่นิยมใช้ ได้แก่ ขนุน มะเขือเห็ดกระด้าง ผักติ้ว (แต้ว) แตงร้าน (แตงค้าง) ฟักทอง เป็นต้น

7. การประกอบอาหารประเภทตำ
เป็นการประกอบอาหารโดยการใช้เครื่องเทศพวกพริก กระเทียม ลงโขลกรวมกันแล้วนำผักที่ต้องการปรุงซึ่งหั่น ฝานหรือตัดเป็นชิ้น ๆ แล้วเติมลงปรุงรสด้วยนํ้าปลาแดก มะนาว มะเขือเทศ ตามใจชอบอาหารประเภทตำที่พบเห็นได้บอ่ ย คือ ตำแตง ตำมะละกอ ตำกล้วย ตำเหมี่ยง (เมี่ยง) ตำลูกจันทร์ ตำถั่ว ตำมะยม

แหล่งที่มา
1.จาก “สังคมและวัฒนธรรมอีสาน” เอกสารประกอบนิทรรศการถาวร “อีสานนิทัศน์” 2549 หน้า 125-188

ปัจจัยในการดำรงชีพ (อาหาร)


5. การประกอบอาหารประเภทน้ำพริก

5.1 ป่น เป็นการปรุงอาหารโดยนำอาหาร ที่ผ่านการต้มกับน้ำปลาแดกจนสุกดีแล้ว และนำเครื่องเทศที่ผ่านการต้มพร้อมกับอาหาร ซึ่งมักจะเป็นพริกสด หอมโขลก รวมกันจากนั้นเติมน้ำร้อนซึ่งเป็นน้ำต้มอาหารผสมกับปลาแดกในตอนแรก แล้วปรุงรสโดยเติมมะนาว มะกอกตามใจชอบเวลาบริโภคจะมีผักต่าง ๆ มารวมเป็นเครื่องเคียง เช่น ผักกาด แตงกวา ถั่วฝักยาว อาหารประเภทป่นที่นิยมมากได้แก่ ปลากบ เขียด กุ้ง เป็นต้น

5.2 แจ่ว มีลักษณะทั่วไปคล้ายป่นแต่เน้นการใช้พริกเป็นองค์ประกอบหลักหรือการแกะเนื้อปลาย่างลงป่นบ้าง แต่ไม่ใช้ปลาต้มลงโขลกรวมกับพริกแห้ง อาจใช้พริกคั่ว พริกสด หรือพริกสดจี่จนสุกแล้วก็ได้วิธีการ ทำแจ่ว มีมากมายหลายประเภท เช่น
5.2.1 แจ่วแห้ง คือ การใช้พริกแห้งตำให้ละเอียดหรือใช้พริกป่นเติมกับน้ำปลาแดกและบีบมะนาวก็ได้เป็นแจ่วที่ทำได้ง่ายที่สุด

5.2.2 แจ่วบักพริกดิบ สามารถทำได้ 2 วิธี คือ นำพริกดิบมาแล้วโขลกรวมกับหัวหอม เติมน้ำปลา และน้ำปลาแดก บีบมะนาวปรุงรสหรืออีกวิธีหนึ่ง คือใช้พริกและหอมจี่ไฟให้สุกก่อน แล้วนำมาโขลกรวมกัน อาจเติมมะเขือเทศจี่ลงไปด้วยเพื่อเพิ่มรสชาติให้ดียิ่งขึ้น
5.2.3 แจ่วบองหรือปลาแดกบอง หรือแจ่วปลาแดกบอง แจ่วประเภทนี้มีวิธีทำยุ่งยากที่สุด แต่เก็บไว้รับประทานได้นาน วิธีการคือ นำปลาแดกสับโขลกรวมกับพริกคั่ว หอมคั่วตะไคร้หั่นฝอย อาจเติมมะขามเปียก หรือมะเขือเทศจี่ลงไปด้วยก็ได้แล้วแต่บ้านไหนจะพลิกแพลงสูตรไปตามความพอใจ


แหล่งที่มา
1.จาก “สังคมและวัฒนธรรมอีสาน” เอกสารประกอบนิทรรศการถาวร “อีสานนิทัศน์” 2549 หน้า 125-188

ปัจจัยในการดำรงชีพ (อาหาร)


3. การทำให้สุกโดยผ่านภาชนะตัวนำ

3.1 หมก คือ ทำอาหารให้สุกโดยการใช้ใบตองห่ออาหารที่ปรุงเสร็จ แล้วนำไปอังเหนือถ่านไฟอ่อน ๆ ให้สุกดี การหมกใช้วัสดุอื่นที่หาได้แทนใบตองก็ได้ ที่นิยมได้แก่ ใบทองกราว ใบยอ

3.2 อ๋อ อู่ เอาะ เป็นการทำอาหารให้สุกโดยการผ่านภาชนะตัวนำประเภทโลหะหรือภาชนะอื่น ๆ เช่น หม้อดิน มีลักษณะผสมระหว่างหมกและอ่อม กล่าวคือ ขณะที่หมกใช้ใบตองเป็นภาชนะตัวนำ ความร้อนใหสุ้ก และอ่อมใช้ความร้อนจากนา้ํ เดือด อ๋อ ก็ใช้นํ้าเดือดแต่มปี ริมาณน้อยกว่าและต่างกัยหมกตรงที่ไม่พิถีพิถันในการปรุงรสก่อนและทำให้สุกวิธีง่าย ๆ

4. การประกอบอาหารแบบสุก ๆ ดิบ ๆ

4.1 ลาบ เป็นการปรุงอาหารเพื่อรับประทานที่ไม่ได้เน้นการบริโภคสุกอย่างเดียว แต่ที่นิยมบริโภคกันคือ แบบดิบ ๆ วิธีการทำคือนำอาหารมาสับเป็นชิ้น ๆ ให้ละเอียด จากนั้นปรุงรสด้วยน้ำปลาแดก น้ำปลา น้ำมะนาว ข้าวคั่ว พริกป่น หอม สะระแหน่ ผักชีฝรั่ง หั่นฝอย มักปรุงรสจัดมีทั้งการลาบอาหารที่ได้จากพืช เช่น เห็ด (ลาบเห็ดกระด้าง) และลาบที่ได้จากสัตว์ เช่น นก วัว กุ้ง ปลา หอย ส่วนใหญ่ลาบที่นิยมบริโภคดิบ เช่น ลาบวัว ลาบปลา (นิยมทั้งสุกและดิบ) และบริโภคสุก เช่น ลาบนก ลาบเป็ด ลาบไก่ ลาบหอย ลาบแย้ และลาบกะปอม เป็นต้น

4.2 ก้อย มีลักษณะทั่ว ๆ ไปเหมือนกับลาบแต่ต่างตรงที่ก้อยไม่นิยมใส่ข้าวคั่วในขณะที่ลาบใส่ข้าวคั่วและเน้นการสับอาหารเป็นชิ้นโต ๆ หรือหั่นเป็นชิ้น ๆ ก้อยเป็นอาหารที่ดิบมากกว่าลาบเพราะสับชิ้นโตกว่าหรือไม่สับเลย ในบางครั้งสัตว์ที่นิยมนำมาทำก้อย เช่น ปลาซิวตัวเล็ก ๆปลาตะเพียน กุ้ง เป็นต้น ก้อยบางชนิดก็ใส่ข้าวคั่ว เช่น ก้อยกุ้ง โดยนำกุ้งสด ๆ มาเติมเครื่องปรุงเมื่อถูกเครื่องเทศที่ร้อนแรงกุ้งจะกระโดดหนีเพื่อเอาชีวิตรอด ดังนั้นจึงมักเรียกว่า “ก้อยกุ้งเต้น” ซึ่งจะอร่อยถูกปากคนอีสานมาก ข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่งคือก้อยจะมีรสจัดกว่าลาบ

ปัจจัยในการดำรงชีพ (อาหาร)


2. การทำให้สุกด้วยความร้อนจากไฟโดยตรง

2.1 ปิ้ง คือการทำอาหารให้สุกโดยใช้ไอความร้อนจากถ่านไฟที่ร้อนจัด กล่าวคือจะต้องนำอาหารวางไว้บนภาชนะ เช่น ไม้ โดยการทำเป็นไม้เสียบหรือวางตรงกลางระหว่างไม้ 2 ชิ้นมัดหัวท้าย ที่เรียกว่า “หีบ” แล้วนำไปอังไอความร้อนจากถ่ายไฟให้สุก

2.2 ย่าง น่าจะเป็นการถนอมอาหารมากกว่า จุดประสงค์เพื่อให้น้ำในอาหารระเหยออกมาหมด สามารถเก็บอาหารไว้ให้ได้นานวัน โดยปกติจะนิยมทำเฉพาะอาหารจำพวก ปลา กบ เขียด ซึ่งมีมากในฤดูฝนเป็นช่วงที่หาแดด เพื่อถนอมอาหาร โดยการตากได้ยากการย่างจะต้องใช้ไฟอ่อน ๆ ย่างอาหารที่ต้องการจนอาหารเหลือง กรอบ และจะไม่มีการใส่เกลือเพื่อเพิ่มรสเหมือนการปิ้ง

2.3 จี่ เป็นลักษณะการทำอาหารให้สุก โดยการวางอาหารนั้นบนถ่านไฟที่ร้อน อาหารจะสุกโดยการวางอาหารนั้นบนถ่านไฟที่ร้อนอาหารจะสุกโดยตรงจากถ่านไฟ การจี่จะต้องคอยระมัดระวังเรื่องอาหารจะไหม้ก่อนสุก ดังนั้นจะต้องมีการพลิกกลับอาหารอยู่บ่อย ๆ เพื่อให้อาหารสุกทั่ว

แหล่งที่มา
1.จาก “สังคมและวัฒนธรรมอีสาน” เอกสารประกอบนิทรรศการถาวร “อีสานนิทัศน์” 2549 หน้า 125-188

ปัจจัยในการดำรงชีพ (อาหาร)


1.2 แกง ลักษณะทั่วไปคล้ายอ่อม กล่าวคือเป็นการปรุงอาหารให้สุกโดยใช้น้ำเป็นองค์ประกอบหลัก มีการใช้เครื่องเทศของทางอีสานและที่จะขาดเสียไม่ได้คือใบแมงลักหรือ “ผักอีตู่” วิธีการปรุงก็เหมือนแกงของภาคกลางทั่วไป แต่ใช้น้ำปลาแดกเป็นตัวปรุงรส

1.3 ต้ม เป็นแกงอย่างหนึ่งของภาคอีสาน ใช้เกลือและน้ำปลาแทนน้ำปลาแดก ต้มจะเน้นเฉพาะอาหารที่สดๆ ที่ได้จากสัตว์ต่าง ๆ ไม่นิยมตัดหรือหั่นอาหารให้เป็นชิ้นหรือถ้าหั่นก็เป็นชิ้นโตๆ รสชาติจะออกเค็มและเปรี้ยวจัด ซึ่งได้จากพืชที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่น ใบมะขามอ่อน ผักติ้ว ยอดกระเจี๊ยบ และมดแดง เป็นต้น
อาหารประเภทต้ม มักจะปรุงกันที่บริเวณไร่นาหรือแหล่งที่ได้อาหารนั้นมาใหม่ ๆ เช่น ลงปลา ที่สระกันทั้งหมู่บ้านก็จะต้มกินกันที่นั่นเลย ข้อที่สังเกตระหว่างแกงกับต้มก็คือ แกงจะใส่ใบแมงลัก น้ำปลาแดกและมีรสเค็ม ในขณะที่ต้มจะไม่ใส่เครื่องปรุงประเภทนี้ แต่จะเน้นไปทางรสเปรี้ยวและไม่นิยมเติมพริกหรือเนื้อสัตว์ที่นิยมนำมาทำต้ม ได้แก่ ปลาประเภทต่าง ๆ งู (โดยเฉพาะงูสิงห์) ไก่ เป็น เป็นต้น


แหล่งที่มา
1.จาก “สังคมและวัฒนธรรมอีสาน” เอกสารประกอบนิทรรศการถาวร “อีสานนิทัศน์” 2549 หน้า 125-188

ปัจจัยในการดำรงชีพ (อาหาร)


อาหาร
สังคมอีสานเป็นสังคมเกษตรกรรมและกสิกรรมแบบดั้งเดิม วิถีชีวิตผูกพันกับธรรมชาติอย่างแนบแน่น มีการเก็บของป่า ล่าสัตว์ ปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ เพื่อยังชีพภายในครอบครัวอีสาน ปลาเป็นสัตว์น้ำชนิดหนึ่งที่หาได้ง่ายในฤดูน้ำหลาก แต่ก็ขาดแคลนในช่วงฤดูแล้ง คนพื้นเมืองจึงหาวิธีการที่จะเก็บรักษาปลาไว้เพื่อให้มีกินได้ตลอดปี โดยการนำปลามาหมักกับเกลือสินเธาว์ที่สามารถผลิตได้เองในท้องถิ่น ปลาที่ได้จากการหมักเกลือนี้เรียกว่า “ปลาแดก” ปลาแดกเป็นอาหารประจำของท้องถิ่น และใช้เป็นส่วนผสมสำคัญในการประกอบอาหารคาวแทบทุกชนิดเช่น แกงอ่อม แกงป่า ป่น แจ่ว ลาบ ก้อยและอื่น ๆ รวมทั้งส้มตำ ส่วนอาหารประเภทผักพื้นบ้านก็มีอยู่มากมายหลายชนิดและยังมีคุณสมบัติเป็นสมุนไพรอีกด้วย คนอีสานนิยมปลูกผักพื้นบ้านไว้ในบริเวณที่อยู่อาศัยและตามไร่นาเพื่อเก็บผัก ดอก ผลและยอดของไม้ป่าต่าง ๆ มารับประทาน นอกจากนี้สัตว์ต่าง ๆ เช่น กบ แย้ ไข่มดแดงและแมลงต่าง ๆ ตลอดจนดักแด้ยังสามารถนำมาประกอบอาหารได้อีกด้วย

กรรมวิธีในการปรุงอาหาร
ชาวอีสานดำเนินชีวิตความเป็นอยู่แบบเรียบง่าย ดังนั้นการกินอยู่จึงไม่ใคร่พิถีพิถันมากนักการปรุงอาหารจะไม่ซับซ้อนและมีเครื่องเทศน้อยชนิด ส่วนใหญ่จะใช้เพื่อดับกลิ่นคาวของอาหารเช่น ตะไคร้ หอม กระเทียม หรือเพื่อเพิ่มรสชาติให้อาหาร เช่น พริกชนิดต่าง ๆ หรือเพิ่มความกลมกล่อม เช่น เกลือ น้ำปลา น้ำปลาแดก เป็นต้น
กรรมวิธีปรุงอาหารอีสานอาจแบ่งประเภทหลัก ๆ ได้ดังนี้
1. การทำให้สุกโดยการต้ม
1.1 อ่อม
คือการปรุงอาหารให้สุกโดยการใช้น้ำปริมาณน้อยต้มให้เดือด โดยใช้ไฟค่อนข้างแรงเครื่องปรุงประกอบด้วยพริกสด หอม กระเทียม ข่า ตะไคร้ ที่โขลกจนละเอียด ผักหลากหลายชนิดที่ใช้เป็นพื้นได้แก่ มะเขือ ใบชะพลู ต้นหอม ยอดตำลึง ผักกาด ผักชีลาว หรือผักอื่น ๆ เท่าที่หาได้มาปรุงกับเนื้อสัตว์ เช่น ไก่ หมู เนื้อวัว ปลาและอื่น ๆ อ่อมจะมีรสจัดทั้งเค็มและเผ็ด อาหารที่นำมาเป็นองค์ประกอบหลักจะกลายเป็นชื่อ “อ่อม” ชนิดนั้น เช่น อ่อมไก่ใส่หัวหอมหรือจะเรียกเฉพาะชื่อเนื้อสัตว์ที่จะนำมาประกอบอาหารก็ได้ เช่น อ่อมเนื้อ อ่อมกบ เป็นต้น


แหล่งที่มา
1.จาก “สังคมและวัฒนธรรมอีสาน” เอกสารประกอบนิทรรศการถาวร “อีสานนิทัศน์” 2549 หน้า 125-188

วิถีชีวิตที่เกี่ยวกับการดำรงชีวิต (อาชีพ)


การทำประมง
สำหรับคนอีสานน้ำเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญ ปลาเป็นแหล่งโปรตีนที่มีความสำคัญมากกว่าสัตว์น้ำประเภทอื่น ๆ สัตว์น้ำที่เป็นอาหารสามารถพบได้โดยทั่วไปนับตั้งแต่บริเวณท้องนาเมื่อเวลาหน้าน้ำจะพบสัตว์น้ำต่าง ๆ มากมาย ในบริเวณห้วยหนอง คลอง บึงและแม่น้ำสายต่าง ๆ ปลาที่พบตามแหล่งน้ำได้แก่ ปลาดุก ปลาช่อน ปลาหมอ ปลาขาว ปลาไหล แหล่งน้ำที่มีขนาดใหญ่จะพบปลาขนาดใหญ่และหลายชนิดกว่าในคูคลองเล็ก ๆ เช่น ปลาในบริเวณแม่น้ำมูล แม่น้ำชี หรือแม่น้ำโขง

อีสานมีเครื่องมือจับปลาที่มีลักษณะไม่แตกต่างกันมานัก เครื่องมือที่พบเห็นเสมอ ๆ คือ เบ็ด สุ่ม แห ไซ ตุ้ม เครื่องมือจับสัตว์น้ำเหล่านี้ทำด้วยไม้ไผ่หรือหวายนำมาเหลาประกอบเข้าด้วยกัน ผู้สูงอายุตามหมู่บ้านจะเป็นผู้สานเครื่องมือหาปลาเหล่านี้ เครื่องมือหาปลาแต่ละประเภทนั้นจะแสดงออกถึงลักษณะการหาปลาและชนิดของปลาบริเวณนั้น ๆ ได้
เครื่องมือจับปลาสามารถแบ่งตามลักษณะเป็น 3 ชนิด คือ
1. เครื่องมือดักปลาซึ่งต้องใช้เวลารอคอยและบางชนิดต้องมีเหยื่อล่อ ได้แก่ อีจู้ ตุ้ม ลอบ ไซ ยอ ซ่อน เป็นต้น
2. เครื่องมือจับปลาซึ่งใช้จับได้ทันที โดยไม่ต้องรอคอย เช่น สุ่ม ฉมวก เป็นต้น
3. เครื่องมือจับปลาซึ่งใช้ในการกักปลาไว้ ได้แก่ ข้องชนิดต่าง ๆ และกระพร้อม เป็นต้น ปลาที่จับได้มักนำไปประกอบเป็นปลาร้ามากกว่าอาหารชนิดอื่น ๆ โดยชาวบ้านจะนำปลาตัวเล็ก ๆ มาคลุกเคล้าเข้ากับเกลือหมักดองใส่ไหไว้

พาหนะที่ใช้ในการจับสัตว์น้ำ
การจับสัตว์น้ำบริเวณน้ำลึกหรือบริเวณแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น ลำน้ำโขง มูล ชี หนองหาน ชาวบ้านจำเป็นต้องมีเรือเพื่อใช้เป็นพาหนะ ในการเดินทางและบรรทุก เครื่องมือ เครื่องใช้ในการจับสัตว์น้ำ และยังใช้บรรทุกสัตว์น้ำกลับมายังบ้านเรือน เรือ ของชาวบ้าน ที่มีใช้อยู่ตามลำน้ำต่าง ๆ ในภาคอีสานพอจะแยกออกได้เป็น 2 ประเภท ตามวิธีการสร้างเรือ คือ เรือขุดและเรือต่อ
แหล่งประมงในภาคอีสาน
แหล่งประมงในภาคอีสานมักจะอยู่ในแหล่งน้ำของแอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร เช่น แม่น้ำมูล แม่น้ำชี และสาขาแม่น้ำสงคราม เช่น ที่หนองหาน จ.สกลนคร ในปัจจุบันนี้เริ่มมีการเพาะเลี้ยงปลาตามแหล่งน้ำต่าง ๆ มากขึ้น จังหวัดที่มีการเพาะเลี้ยงปลามาก ได้แก่ จ.สกลนคร ขอนแก่น อุดรธานี อุบลราชธานี ส่วนมากนิยมเลี้ยงปลาหมอเทศ ปลาไน ปลานิลและปลาจีน ซึ่งทางราชการเป็นผู้แจกพันธุ์


แหล่งที่มา
1.จาก “สังคมและวัฒนธรรมอีสาน” เอกสารประกอบนิทรรศการถาวร “อีสานนิทัศน์” 2549 หน้า 125-188

วิถีชีวิตที่เกี่ยวกับการดำรงชีวิต (อาชีพ)


มันสำปะหลัง
เมื่อประมาณ 12-14 ปีทีผ่านมามันสำปะหลังเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ทำรายได้เสริมให้แก่เกษตรกรในภาคอีสานและสามารถนำรายได้เข้าสู่ประเทศเป็นอันดับสองรองจากข้าว มันสำปะหลังเป็นพืชที่ชอบอากาศร้อนจึงปลูกได้ดีในระหว่างละติจูด 25 องศาเหนือและ 25 องศาใต้ ในพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 3,000 ฟุตเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทรายทนความแห้งแล้งได้ดีกว่าพืชที่ให้แป้งชนิดอื่น ๆ ต้องการน้ำเพื่อตั้งตัวหลังการปลูกเท่านั้น จึงเหมาะกับภาคอีสาน ซึ่งมีปริมาณและการกระจายของฝนไม่แน่นอน ปัจจุบันเกษตรกรนิยมที่จะปลูกมันสำปะหลังกันมาก เพราะมีต้นทุนในการผลิตต่ำ ปลูกง่ายและไม่ต้องการการดูแลมากนัก ส่งผลผลิตเข้าโรงงานได้ง่ายและเก็บเกี่ยวได้ตลอดทุกฤดูกาล

เกลือสินเธาว์
คนอีสานนิยมใช้เกลือสินเธาว์ทำปลาเค็ม ปลาร้า ปลาเจ่า เพราะทำให้ปลาไม่เน่าเร็ว กลิ่นไม่เหม็นเหมือนใช้เกลือทะเล รสไม่เค็มมาก ราคาก็ถูกกว่า ฉะนั้นในแหล่งที่มีดินเกลือหรือน้ำเค็มชาวบ้านจึงทำนาเกลือกันเป็นล่ำเป็นสัน บางแห่งมีการให้เช่าพื้นที่ทำนาเกลือ คิดค่าเช่าเป็นไร่ต่อเดือน โดยเริ่มทำตั้งแต่เดือนพฤษภาคมไปจนถึงเดือนพฤศจิกายน การทำเกลือสินเธาว์นี้มีมา

การทำเกลือสินเธาว์
แหล่งเกลือหรือที่เรียกว่า เนินเกลือหรือโป่งเกลือจะสังเกตเห็นได้ง่ายคือ จะขึ้นเป็นขุยขาวๆ ชาวบ้านจะใช้ไม้ขุดรวมเป็นกอง ๆ ไว้เมื่อได้ดินปนเกลือมาแล้ว ก็จะนำมาใส่รางไม้ลักษณะคล้ายลำเรือที่ขุดเตรียมไว้กว้างยาวตาม แต่ขนาดไม้โดยเจาะรูไว้กลางลำ 1-4 รู ใช้ตอกหรือซังข้าวมัดเป็นวงกลมครอบรูไว้ เสร็จแล้วใช้กะลามะพร้าวหรือทำแผ่นไม้เป็นวงกลมครอบทับอีกทีหนึ่ง แล้วเอาแกลบข้าวใหม่ ๆ โรยให้ทั่วท้องรางไม้อีกชั้นหนึ่ง เสร็จแล้วเอาดินเกลือที่ขนมานั้นใส่บนแกลบเหยียบให้แน่นเหลือระดับดินไว้ประมาณ 1 คืบ แล้วจึงเอาน้ำจากบ่อน้ำเค็มที่ขุดเตรียมไว้ใส่บนดินเกลืออีกครั้ง รูที่ใต้ไม้ท้องรางนั้นใช้ไม้ไผ่ยาวประมาณ 1 คืบ จุกเข้าไว้โดยใช้ผงยาวไม้บงกรุไว้พอให้น้ำเกลือไหลผ่านลักษณะจะคล้ายกระดาษกรอง ให้น้ำเกลือไหลลงภาชนะรองรับ เมื่อได้เพียงพอแล้วก็นำเอาน้ำเกลือนั้นไปต้ม
การต้มเกลือ
ใช้สังกะสีตัดทำเป็นกะทะหรือถาดบันกรีเรียบร้อย สำหรับต้มเตาต้มบางแห่งใช้อิฐก่อเป็นเตาหรืออาจจะขุดหลุมเป็นเตาแล้วใช้เหล็กพาดไว้ 3-4 อัน เพื่อรับน้ำหนักเตานี้อาจขุดลึกลงไปในชั้นดินหรือก่อพูนขึ้นเป็นรูปเตาก็ได้มีความกว้างประมาณ ½ เมตร ยาวประมาณ 1 เมตรให้พอดีกับถาดสังกะสีก่อไฟข้างใต้เตาแล้วเอาน้ำเกลือที่กรองมาได้ใส่ลงไปใหเ้ต็มถาด สังกะสีนั้นต้มไปจนน้ำเหลืองวดเป็นเม็ดเกลือใช้เวลาต้มประมาณ 1-2 ชั่วโมง วันหนึ่ง ๆ จะต้มได้ประมาณ 4-6 ถาดสังกะสี ถาดหนึ่งจะได้เกลือประมาณ 3-20 กิโลกรัมขึ้นอยู่กับขนาดของถาดที่ต้ม


แหล่งที่มา
1.จาก “สังคมและวัฒนธรรมอีสาน” เอกสารประกอบนิทรรศการถาวร “อีสานนิทัศน์” 2549 หน้า 125-188